ตำนาน งูน้ำ


ภาพการล่าเหยื่อของงูน้ำ





ตำนาน งูน้ำ

เล่ากันว่าแต่เดิมงูน้ำเป็นงูชนิดเดียวที่มีพิษและมีพิษร้ายแรงมาก เพียงแต่กัดรอยเท้าของใครเข้าเจ้าของรอยเท้านั้นก็จะถึงแก่ความตาย 

อยู่มาวันหนึ่งงูน้ำได้กัดชายคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า "อ้ายไม่ตาย" หลังจากนายอ้ายไม่ตายถูกงูน้ำกัดตายแล้วชาวบ้าน ก็ลือกันว่า

 "  งูน้ำกัดนายอ้ายไม่ตายเสียแล้ว"   บางก็พูดว่า "  งูน้ำกัดนายอ้ายไม่ตายแล้ว" 

เมื่องูน้ำรู้ข่าวนี้ก็เสียใจและเจ็บใจตัวเองว่าพิษร้ายของตนเองเสื่อมถึงที่สุดแล้ว เพราะแต่ก่อนเพียงกัดแค่รอยเท้าใครผู้นั้นก็ตาย มาคราวนี้กัดถูกเท้าจริงๆ กลับไม่ตายน้อยใจมากจึงไปสำรอกพิษทิ้งทั้งหมด 

พิษที่สำรอกออกมานั้น ไปติดอยู่ที่ต้นรังทังช้าง รังทังไก่ หมามุ่ย พวกงูชนิดอื่นๆพากันไปอมพิษนั้นไว้ งูที่ไปถึงก่อนก็ได้แก่ งูจงอาง งูเห่า งูกะปะ เป็นต้น พวกนี้จึงมีพิษร้ายแรงส่วนงู และสัตว์อื่น ๆ ที่ไปทีหลัง จะได้พิษลดน้อยลงเรื่อยๆ เช่น งูเขียว ตะขาบ 

[1]. รังตังช้าง (ตะลังตังช้าง)


[2]. รังตังไก่ (ตำแย)


[3]. หมามุ้ย

ส่วนต้นรังทังช้าง รังทังไก่ หมามุ่ย ก็มีพิษเหลืออยู่บ้างใครไปถูกก็โดนพิษดังที่เป็นอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ ใน ปัจจุบันงูน้ำจึงไม่มีพิษร้ายแรง


งูในทะเลสาบของกัมพูชาถูกคนจับสูงถึงวันละ 8500 


คติคิด
.....................จากนิทานเรื่องงูน้ำมีคติแนวคิดสอนว่าการได้ยินคำร่ำลือต่างๆ จะต้องคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ตัดสินใจอะไรด้วยความรีบร้อน เพราะการกระทำบางอย่างเมื่อผิดพลาดไปแล้วไม่มีโอกาสแก้ไขได้อีก


____________________________________

[1]  ตะรังตังช้าง
ชื่อทางพฤษศาสตร์.....Laportea Stimolns วงศ์ Urticaceae 
ชื่อเรียกว่า "กะลังตังช้าง" ท้องถิ่นเรียกว่า "รังตังช้าง" ปักษ์ใต้เรียก "ลังตังช้าง" ภาคพายัพเรียก "หานเดื่อ" ส่วนทางทหารเขียนว่า "ตะรังตังช้าง" 

ลักษณะ...เป็นต้นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีใบโตขนาดใบสัก เป็นขนสีขาวออกหนาตลอดต้น ไม้ชนิดนี้ ขนออกมันมีพิษ ถ้าไปถูกเข้า ขนของมันก็จะคายพิษออกมาทำให้เกิดอาการคัน ผู้ที่ถูกเข้าจะมีอาการคันและเกาจนหนังถลอกเป็นแผลเรื้อรัง อาการเจ็บปวดเป็นกำลัง น้ำเหลืองจะแตกออกเป็นแผล ซึมออกไปทำให้เป็นแผลต่อไปอีก บางทีมีอาการแสบปวดร้อน บวม และอาการแน่น ถึงตายได้ ถ้าถูกขนติดมากไป

ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน บอกว่า 
ตะรังตังช้างหมายถึง...  ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Dendrocnide sinuata (Blume) Chew ในวงศ์ Urticaceae ใบใหญ่ ขอบจัก ถูกเข้าจะปวดคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง.

[2]  ลังตังไก่
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Laportea  interrupta  Chew
 วงศ์ :
URTICACEAE
 ชื่อพ้อง :
 ชื่อไทย :
ตำแยตัวเมีย*, กะลังตังไก่, ว่านช้างร้อง, หานไก่
 ชื่ออังกฤษ :
 ออกฤทธิ์ :
ระคายเคืองต่อผิวหนัง
 ส่วนที่เป็นพิษ :
ขนพิษ
 สารพิษ :
Histamine
 อาการ :
คัน บวมเป็นปื้นคล้ายลมพิษ หรืออาจรุนแรงจนเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ผิวหนังอักเสบ
 วิธีการรักษา :
1. กำจัดขนพิษ โดยใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัวลง คลึงบริเวณที่ถูกขนพิษ หรือใช้ข้าวเหนียวนึ่งสุกปั้นคลึงจนเป็นเนื้อเดียวกัน จนขนติดออกมา 
2. ทาด้วยน้ำยาคาลาไมล์หรือครีมสเตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซโลนครีม วันละ 
3-4 ครั้ง

[3] หมามุ้ย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mucuna gigantea (Willd.) DC.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ, สะบ้าลิง

รูปลักษณะ : หมามุ้ย เป็นไม้เถาเลื้อยพัน ยาว 5-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี กว้าง 5-9 ซม. ยาว 9-16 ซม. ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ ห้อยลงกลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝัก สีดำมีขนสีน้ำตาลอ่อน ปกคลุมหนาแน่น เมล็ดแข็งสีน้ำตาลอ่อนมีลาย

สรรพคุณของ หมามุ้ย : เปลือก, ต้น มีสารกลุ่มซาโปนิน ใช้ล้างแผล สระผม, นำมาต้มน้ำผสมเกลือ อมแก้ปวดฟัน เมล็ด เผา บดเป็นผงผสมกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้คัน และโรคผิวหนัง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้