ภาณยักษ์





สวดภาณยักษ์

     การสวดภาณยักษ์ นั้นก็คือ การสวดพระอาฏานาฏิยปริตร โดยพระปริตรนี้ แบ่งเป็น2ภาค คือภาคภาณพระ และภาคภาคยักษ์ โดยตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า หลังจากพระมหาบุรุษตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนั้น ท้าวจตูโลกบาลก็มาเข้าเผ้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสกล่าวถึงพระพุทธวงศ์ คือพระนามพระพุทธเจ้าที่เคยตรัสรู้มาแล้ว (ภาณพระ) จากนั้นท้าวจตุโลกบาลก็มีดำริว่าบริวารของตนนั้นมีมากมาย ทั้งที่เป็นยักษ์ กุมภัณฑ์ นาค และคนธรรพ์ ซึ่งมีมายมากที่ไม่มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา กลัวว่าจะมารบกวนพระสงฆ์สาวกที่ไม่มีฤทธิ์ ขณะจาริกและปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานให้ได้ความเดือดร้อน จึงถวายพระปริตรนามว่า อาฏานาฏิยปริตร แด่พระพุทธเจ้า เพื่อให้พระสงฆ์นำไปสวดกัน(ภาณยักษ์)

ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี เรียกง่าย ๆ ว่า " นายผี " เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งมีท้าวมหาราชทั้งสี่ปกครอง คือ ท้าวธตรัฏฐะ ท้าววิรุฬหกะ ท้าววิรูปักขะ และท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ประจำทิศต่างๆ ทั้งสี่ทิศโดยเฉพาะท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) เป็นใหญ่ปกครองบริวารทางทิศเหนือ ว่ากันว่าอาณาเขตที่ท้าวเธอดูแลปกครองรับผิดชอบมีอาณาเขตใหญ่โตมหาศาล กว้างขวาง และเป็นใหญ่ (หัวหน้าท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4) กว่าท้าวมหาราชองค์อื่น 



    โดยในพระปริตรดังกล่าวจะกล่าวถึงพระนามของท้าวจตุโลกบาล ทั้งนี้เมื่อบริวารของท้าวจตุโลกบาล เมื่อได้ยินพระนามท้าวเธอก็ย่อมจะเกรงกลัวและเร้นกายไปไม่มารบกวน ดังนั้นความเชื่อของชาวพุทธ เวลาเกิดเหตุการณ์ร้ายไม่มีในบ้านเมืองก็จะนิมนต์ให้พระสงฆ์สวดภาณยักษ์ อย่างเช่นในสมัยต้นกรุงฯได้เกิดโรค--ยุดนั้นก็มีการสวดภาณยักษ์กันมากมาย แต่จริงๆแล้ว พระอาฏานาฏิยปริตร นั้นเวลาเรานิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์เย็น พระท่านก็จะสวดอยู่แล้ว เพราะพระปริตรดังกล่าวนั้นได้รวมอยู่ทั้งใน จุลราชปริตร(สวด 7 ตำนาน) และมหาราชปริตร(สวด 12 ตำนาน) อยู่แล้ว

     การสวดภาณยักษ์ได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย เข้าใจว่ามีมาตั้งแต่สมัยของพ่อขุนรามคำแหง รับมาจาก พระสงฆ์ทางลังกาสายเถรวาท โดยเริ่มเข้ามาทางด้านจังหวัดนครศรีธรรมราช จนถึงสมัยของรัชกาลที่ ๕ เสด็จนครศรีธรรมราชจึงได้นำมาจัดเป็นพิธีประจำปี สำหรับพระนครเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่พระนคร และแก่พระเจ้าแผ่นดิน เพราะมีความเชื่อกันมาว่า บ้านเมืองหนึ่งๆ จะมีผีที่ดี และผีที่ไม่ดีอาศัยอยู่ ผีที่ไม่ดีเรียกว่า ภูติผีปิศาจ ส่วนผีที่ดีเรียกว่า เทพยดา และที่บ้านเมืองมีเหตุเพทภัยต่างๆเกิดขึ้น ก็เป็นเพราะเกิดจากภูติผีปิศาจ กลั่นแกล้งบันดาลให้เป็นไป ดังนั้นเมื่อสิ้นปีหนึ่งไป จึงได้ทำพิธีสวดภาณยักษ์ เพื่อเป็นการขับไล่ภูตผีกันสักครั้ง เพื่อความเป็นสิริมงคล และความร่มเย็นเป็นสุขของบ้านเมือง และแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งปวง จึงเป็นสาเหตุ ที่มีการทำพิธีสวดภาณยักษ์กันขึ้นมานั่นเอง


พิธีสวดภาณยักษ์ในปัจจุบัน


ภาณ หมายถึง การสวด สมัยก่อนการสวดภาณยักษ์มีอยู่สองแบบคือ สวดภาณวาร และสวดภาณยักษ์ซึ่งการสวดทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกันคือ

ภาณวาร เป็นการสวดแบบมีทำนองครุ ลหุ คือมีการเน้นเสียงหนักเบา ใช้น้ำเสียงสวดที่ไพเราะไม่ กระแทกกระทั้นดุดัน เหมือนการสวดภาณยักษ์ 

ภาณยักษ์ เป็นการสวดที่มีน้ำเสียงกระแทกกระทั้นดุดันเกรี้ยวกราด และน่ากลัวจึงได้เรียกว่า สวดแบบ ภาณยักษ์นั่นเอง ใช้สวดเพื่อขับไล่ยักษ์หรือภูตผีต่างๆ

     การสวดทั้งสองแบบนี้ได้นำมาจาก อาฎานาฏิยสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่อยู่ในพระไตรปิฎก ว่าด้วยเรื่อง ของยักษ์ต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงปราบ มาดัดแปลงทำนองให้ดุดัน และโหยหวน เพื่อเป็นการขับไล่สิ่งที่ไม่ดี ให้ออกไป มีการจุดปืนใหญ่สมทบ เพื่อให้ภูตผีปิศาจเกิดความกลัวจะได้หนีไป แต่ในปัจจุบันใช้การจุดประทัดแทน

     บางตำนานก็บอกว่าการสวดภาณยักษ์นั้น เกิดจากเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ท่านได้ทรงโปรดเทศนาธรรม ให้กับพญายักษ์ที่มีชื่อว่า ท้าวเวสสุวัณ ซึ่งเป็นจ้าวแห่งภูตผีปิศาจทั้งหลาย แค่เอ่ยชื่อเพียงอย่างเดียว พวกภูตผี ปีศาจที่มีฤทธิ์เดชทั้งหลายยังต้องเกรงใจ ไม่กล้ายุ่งเกี่ยวต่อกรด้วย 

     หลังจากที่ยักษ์ท้าวเวสสุวัณได้ฟังพระธรรม จากพระพุทธเจ้า ก็บังเกิดความซาบซึ้งในรสพระธรรมขึ้น จึงได้แต่งพระคาถาน้อมถวายแก่พระพุทธเจ้าเพื่อให้ถวายแก่เหล่าสาวกของท่าน เพราะมีเหล่ายักษ์ไม่น้อยที่ไม่พอใจในพระพุทธเจ้า พวกยักษ์เหล่นนั้นอาจจะทำร้ายแก่สงฆ์สาวกขององค์ตถาคตก็เป็นได้ ซึ่งก็คือ คาถาสวดภาณยักษ์นั่นเอง เมื่อสวดคาถาบทนี้เมื่อใด เหล่าภูตผีปิศาจไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ก็ต้องยอมศิโรราบให้ เพราะ เกรงกลัวในบารมีของท่านท้าวเวสสุวัณ พากันเผ่นหนีกันจ้าละหวั่นไปกันหมด

     ท่านท้าวเวสสุวัณ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวกุเวร เป็นเทวาธิราชพระองค์หนึ่ง เป็นจอมเทพที่มีศักดาอานุภาพ และอิทธิฤทธิ์มาก ถึงแม้ว่าจะเป็นยักษ์ ( บางตำนานก็ว่าหน้าเป็นคน ) ก็เป็นยักษ์ที่ใจดีมีเมตตา และมีศีลธรรมประจำใจ ด้วยฤทธิ์เดชอำนาจอันมากมายที่มีอยู่ จึงเป็นที่กลัวเกรงของเหล่าบรรดาภูตผีทั้งปวง และบรรดาเหล่ายักษ์มารทั้งหลาย รวมทั้งเทวดาชั้นผู้น้อย ทำหน้าที่ปกครองดูแลเทพเทวาในนครอันดับที่สี่ ซึ่งอยู่ในสวรรค์ชั้นที่หนึ่ง ในสวรรค์ชั้นนี้ก็มี เทพเทวดา อสูร นาค ราคสด คนธรรพ์ และพวกสัมพเวสีอาศัยอยู่







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้