ตำนานเศรษฐีนวโกฎิ

เศรษฐีนวโกฎิ
   

     พระเศรษฐีนวโกฏิ หรือที่มีนามเรียกขานกันหลายชื่อ เช่น พระเก้าหน้า , พระเศรษฐีเก้าหน้า , พระเศรษฐีนวโกฏ ฯลฯ เป็นพระ 1 ใน 3 พระปฏิมากร สำคัญซึ่งสถาปนาในอาณาจักรล้านนาฝ่ายอรัญวาสี(พระป่า)ผู้ทรงธรรมในวิปัสสนาแต่โบราณ โดยสร้างขึ้นเป็นรูปนิมิต สัญลักษณ์แห่งโชคลาภ เป็นรูปจำลองพระปฏิมากรปางสมาธิหรือปางพนมมือ มีเก้าหน้า ประทับนั่งสมาธิ ในตำนานกล่าวว่าสมัยพุทธกาล มีมหาเศรษฐีใจบุญ 9 คน ท่านเหล่านี้เป็นผู้สร้างคุณประโยชน์เอนกอนันต์ให้แก่พระพุทธศาสนา มีความมั่งคั่งในโภคทรัพย์อยู่ในระดับเดียวกับกษัตริย์ ทั้งยังเป็น"สัมาทิฏฐิ" และยังเป็นพุทธอุปฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงยกย่องว่า ท่านเหล่านี้เป็นผู้เลิศในการทำทาน และเป็นยอดของมหาเศรษฐีทั้งปวง ประกอบไปด้วย 

1) ท่านธนันชัยเศรษฐี

2)ท่านยสะเเศรษฐี

3)ท่านชฎิลเศรษฐี

4)ท่านสุมังคละเศรษฐี

5)ท่านอนาถปิณฑิกะเศรษฐี

6)ท่านโชติกะเศรษฐี

7)ท่านสุมนะเศรษฐี

8)ท่านเมณฑกะเศรษฐี

9)มหาอุบาสิกาวิสาขา 


     ท่านมหาเศรษฐีทั้งเก้าท่านนี้ล้วนเป็นพระอริยะโสดาบันทั้งสิ้น รูปลักษณ์ต่างๆ ในโลกนี้ล้วนแต่มีความหมายแฝงไว้ซึ่งปริศนาธรรมทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นรูปหรือเป็นสัญลักษณ์อันมีความหมายที่แสดงถึงบุคคลที่เป็นพระอริยเจ้าผู้ทรงความบริสุทธิ์ เป็นผู้ที่บำเพ็ญมหาบารมีด้วยแล้วรูปหรือสัญลักษณ์ดังกล่าวก็จะมีความขลัง ทรงอิทธิคุณ ทรงความศักดิ์สิทธิ์ สามารถที่จะแสดงซึ่งฤทธานุภาพให้กับผู้ที่ศรัทธาเคารพสักการะได้ ซึ่งอารุภาพเหล่านี้เป็นอจิรไตยยยากที่จะเข้าใจได้ แต่สามารถสัมผัสและพิสูจน์ได้สำหรับผู้ที่มีความเชื่อมั่นและศรัทธาเลื่อมใสเท่านั้น

    เนื่องจากว่าสัญลักษณ์ดังกล่าวเปรียบได้กับคุณธรรมความดีงาม เมื่อบุคคลใดหมั่นระลึกถึงคุณงามความดี เอาความดีเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจแล้วบุคคลนั้นย่อมประสพแต่สิ่งที่ดีงามเช่นเดียวกัน พระมหาเศรษฐีนวโกฎิได้รับการสถาปนาขึ้นมาเมื่อใดนั้นยากที่จะหาคำตอบได้ แต่จากที่ได้ศึกษาค้นคว้าตามตำราโบราณ ตลอดจนครูบาอาจารย์ผู้รู้ทั้งหลายได้กล่าวว่า พระมหาเศรษฐีนวโกฎิได้รับการสถาปนาขึ้นในราชอาณาจักรล้านช้างโบราณโดยมีตำนานว่า

    สมัยหนึ่งเกิดทุกข์เข็ญทุพภิกขภัยข้าวยากหมากแพง ประชาชนเดือดร้อน บังเกิดความอดอยากขึ้น จึงมีพระภิกษุผู้เป็นอริยะรูปหนึ่ง ได้แนะนำให้สร้างพระเศรษฐีนวโกฏิขึ้น เพื่อทำการสักการะบูชาแก้เคล็ดในความทุกข์ยากทั้งหลาย และเมื่อสร้างและทำการฉลองสำเร็จ ก็ปรากฎเหตุการณ์อันอัศจรรย์ขึ้น คือ ความทุกข์ยากทั้งหลายได้บรรเทาเบาบางลงและสงบระงับไปในที่สุด จึงเป็นคติความเชื่อของชาวล้านนาว่า ถ้าผู้ใดได้บูชา พระเศรษฐีนวโกฏิ แล้ว จะเป็นสิริมงคล ทำมาค้าขึ้น ประสบแต่โชคลาภ อยู่เย็นเป็นสุข ด้วยอนิสงส์แห่งบารมีธรรมของมหาเศรษฐีทั้ง 9 ท่าน

     ต่อมาเมื่อคติการสร้างพระกริ่งในเจ้าคุณสมเด็จสังฆราชแพ แห่งวัดสุทัศน์ได้แพร่หลายไปสู่วัดต่างๆการสร้างพระกริ่ง ในชั้นหลังจึงพยายามกระทำพิธีกรรมตามแบบสมเด็จพระสังฆราชแพทั้งสิ้น คือ การจารอักขระแผ่นยันต์ต่างๆ สุมหุ่นและพิธีเททองหล่อพระ การสร้างพระกริ่งเศรษฐีนวโกฏิก็เช่นกัน พระอาจารย์ผู้สร้างได้ดัดแปลงเอาส่วนดีของการสร้างพระกริ่งมาใช้ในการสร้างพระเศรษฐีนวโกฏิ เพียงแต่แผ่นยันต์ในการสร้างพระเศรษฐีนวโกฏินั้น จำต้องใช้พระยันต์เฉพาะในด้าน"โภคทรัพย์"มาเสริมเพิ่มเติมให้เข้มขลังขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้