4 แยก มรณะ
4 แยก มรณะ |
เมื่อถนน 2 สายมาบรรจบกัน จะเกิดเป็นทางแยก 4 แยกบ้าง 3 แยกบ้าง ซึ่งทางแยกเหล่านี้ คนไทยเชื่อว่ามันคืออาถรรพ์
แยก หรือ แพร่ง คนโบราณเชื่อว่ามันคือทางผ่านของโลกอีกโลกหนึ่ง คือโลกของวิญญาณ เช่น ทาง 3 แพร่ง คนไทยนิยมไปสะเดาะเคราะห์ โดยวางอาหารคาวหวานไว้ตรงบริเวณเนินดินกลางของแยก เพื่อเลี้ยง "ผี"
ไม่ว่าจะเป็น 3 แยก หรือ 4 แยก ก็มีอาถรรพ์ด้วยกันทั้งสิ้น อย่างเลือกที่เล่าให้ฟังเพื่อเป็นอุทาหรณ์เรื่องนี้
"สมัยก่อนซัก 10 กว่าปี 4 แยกตรงนี้เป็นทางแยกเส้นเล็กๆ ถนน 2 เลน ซึ่งสามารถไปจังหวัด นครศรีฯ ได้ คนแถวนั้นเรียกแยกนี้ว่า 4 แยกนคร (หลังเปลี่ยนมาเป็นสี่แยกอันดามัน) 2 ข้างถนนมีบ้านคนประปลาย และมีต้นโพธิ์ต้นใหญ่อยู่ต้นนึง ขนาดลำต้นต้องใช้คนอย่างน้อย 5 คนถึงจะโอบรอบ กิ่งก้านโน้มยาวไปอีกฝั่งของถนน มีผ้าเจ็ดสีผูกรอบต้น ผ้าเจ็ดสีนั้นมักจะถูกเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ โดยชาวบ้านในพื้นที่บ้าง ต่างพื้นที่บ้างสลับสับเปลี่ยนกันไป พร้อมด้วยเหล่าศาลเก่าที่หักผุพัง ตุ๊กตาปูนปั้นของหลวงปู่แหวน ร.5 กุมารทอง นางกวัก เทพต่างๆ หรือแม้กระทั่งพระพุทธรูปอยู่เต็มโคนต้น ต้นโพธิ์ต้นนั้นก็เป็นที่สักการะของคนใช้ถนนเรื่อยมา
4 แยก อันดามัน |
จนกระทั่งความเจริญเริ่มเข้ามา ผู้คนที่ใช้รถใช้ถนนเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้อง "ขยายถนนออกเป็น 4 เลน" เพื่อรองรับจำนวนของรถที่เพิ่มขึ้น ในที่สุดต้นโพธิ์ต้นนั้นก็ต้องถูกโค่นลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ แล้วเหตุการณ์อาถรรพ์ก็เกิดขึ้น เมื่อรถแม๊กโครเริ่มดันต้นโพธิ์อยู่นั้นปรากฎมีงูเหลือมขนาดใหญ่เลื้อยออกมาจากรูใต้ต้นโพธิ์หนึ่งตัว คนงานก่อสร้างแถวนั้นก็รีบช่วยกันเข้าไปจับหวังจะเอามาทำเป็นอาหารกิน เมื่อจับแล้วก็เริ่มการโค่นต้นโพธิ์ต่อ เมื่อต้นโพธิ์ถูกโค่นลงภาพที่ทุกคนเห็นอยู่เบื้องหน้าคือ สภาพศพงูเหลือมอีกตัวนึงในสภาพเละหาชิ้นดีไม่ได้ พร้อมกับลูกงูที่ทะลักออกมาเพราะแรงกดจนท้องแตกเลื้อยดิ้นรนอย่างทรมาร แทนที่ีคนงานก็เข้าไปช่วยกลับเข้าไปเอาเนื้อของแม่งูเก็บเอามาทำเป็นอาหารอีก พร้อมกับเดินไล่เหยีบบลูกงูให้ตายทีละตัว ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ต่างเบือนหน้าหนีกับพฤติกรรมของคนงาน บางคนเกิดอาการกลัวเหตุอาเพศเพราะชาวบ้านเชื่อว่า นั้นคืองูเจ้าที่ที่อยู่ในต้นโพธิ์ หลังจากวันนั้นจนถนนสร้างเสร็จไม่มีใครเห็นคนงานเหล่านั้นอีกเลย ถามหัวหน้าคนงาน ก็ได้คำตอบว่า พวกเค้าขอกลับบ้านด่วนเฉยๆ
งูที่มีขนาดใหญ่ คนทางภาคใต้เชื่อว่า มันคืองูเจ้าที่ |
ความคิดเห็น