ผีตาโขน
ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ ทำจากต้นมะพร้าวแกะสลักและสวมศรีษะด้วยกระติ๊บข้าวเหนียว ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน
ต้นกำเนิดของพิธีผีตาโขนไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด แต่ก็พอที่จะท้าวความไปยังตำนานทางพุทธศาสนาได้ว่า ในชาติก่อนหน้าที่จะถือกำเนิดมาเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงถือกำเนิดเป็นเจ้าชาย ผู้เป็นที่รักยิ่งของทวยราษฎร์ ทรงพระนามว่า พระเวสสันดร กล่าวกันว่าพระองค์ทรงเสด็จออกนอกพระนครไปเป็นเวลานานเสียจนเหล่าพสกนิกรของพระองค์ลืมพระองค์ไปแล้ว และยังคิดว่าพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ไปเสียแล้วด้วยซ้ำไป แต่จู่ ๆ พระองค์ก็เสด็จกลับมา พสกนิกรของพระองค์ต่างปลื้ม ปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงพร้อมใจกันเฉลิมฉลองการเสด็จกลับมาอย่างเอิกเกริกส่งเสียงดังกึกก้อง จนกระทั่งปลุกผู้ที่ตายไปแล้วให้มาเข้าร่วมสนุกสนานรื่นเริงไปด้วย
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่างพากันมาร่วมระลึกนึกถึงเหตุการณ์นี้ด้วยการจัดพิธีต่าง ๆ การเฉลิมฉลองและการแต่งกายใส่หน้ากากคล้ายภูตผีปีศาจ แต่เหตุผลที่แท้จริง เบื้องหลังพิธีนี้ก็อาจจะเนื่องมาจากความจริงที่ว่าชาวนาต้องการกระตุ้นฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล และเพื่อเป็นการให้ศีลให้พรแก่พืชผลอีกด้วย
ในวันที่ 2 ของงานบุญนี้ ชาวบ้านจะร้องรำทำเพลงไปตามทางสู่วัด แล้วจึงจุดบั้งไฟเพื่อส่งสัญญาณให้รู้ว่า ขบวนแห่ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว นอกจากนี้ผู้ที่จัดงาน ก็ยังจัดให้มีการประกวดหน้ากากที่สวยงามที่สุด การแต่งกายและผู้ที่รำสวย แล้วยังมีการแจกโล่ห์ทองเหลืองแก่ผู้ชนะในแต่ละวัยอีกด้วย แต่สิ่งที่ชื่นชอบกันมากที่สุด ก็เห็นจะเป็นการแข่งขันเต้นรำ และเมื่อวันสุดท้ายของงานบุญมาถึง ชาวบ้านก็จะไปรวมกันที่วัดโพนชัย เพื่อฟังพระธรรมเทศนา 13 กัณฑ์ แสดงโดยพระภิกษุวัดนั้น
และแล้ววันเวลาแห่งการถอดหน้ากากปีศาจและเครื่องแต่งกาย เพื่อสวมใส่ในปีต่อไปก็มาถึง นับจากนี้ไปพวกเขาต้องกลับไปสู่ท้องนาอีกครั้ง โดยการทำนาเพื่อหาเลี้ยงชีพ ตามอย่างบรรพบุรุษของตนที่สืบทอดกันมา
ความคิดเห็น