ผี

ผี




"ผี" คำ ๆ นี้ยังคงเป็นปริศนาที่รอการพิศูจน์ว่ามีจริงหรือไม่ ในช่วงระหว่างที่รอการพิศูจน์อยู่นั้นก็บังเกิดกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่มีความคิดเห็นไม่เหมือนกันบ้างแตกต่างกันบ้างหรือสอดคล้องกันบ้างตามแต่ความรู้และประสบการณ์ที่สะสม บางกลุ่มไม่เชื่อโดยเด็ดขาดว่า "ผี" นั้นไม่มีในโลกเพราะวิทยาศาสตร์ยังไม่ออกมาชี้ชัดว่ามีจริง เพราะองค์ความรู้ของบุคคลเหล่านั้นต้องพึ่งพากลุ่มนักวิทยาศาสตร์ตลอดเวลาเพื่อให้ออกมาตีพิมพ์และยืนยันถึงการมีอยู่จริงของสิ่งนั้นๆ 

- กลุ่มต่อมาคือดูลาดเลาเอนเอียงตามกระแส หากกลุ่มไหนออกมาพูดหรือให้ความเห็นที่คนส่วนใหญ่เชื่อถือกันก็จะทำตัวเนียนๆ ว่าตามกันไปทั้งๆ ที่ยังไม่ตรึกตรองลองคิดกันดูเพียงเพื่อไม่ให้คนอื่นหาว่าเชย หรืองมงายแต่แท้ที่จริงก็ยังคงมีความเชื่ออยู่บ้างว่า "ผี" นั้นก็ยังมีจริง 

- กลุ่มต่อมาคือกลุ่มที่เชื่อโดยสนิทใจว่า "ผี" ต้องมีแน่นอน จนถึงขั้นงมงาย ไม่ว่าจะอะไรก็ยกความรับผิดชอบต่างๆ ให้ "ผี" เสียหมด กลัวจนขี้ขึ้นสมอง ไม่มีสตินึกคิดตรึกตรอง 

- กลุ่มคนสุดท้าย คือกลุ่มที่เชื่อโดยการได้สัมผัสจริงแต่ยังไม่แน่ใจชอบหาหลักฐานอื่นๆ เข้ามาประกอบโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะเข้าหาทางคำภีร์ต่างๆ เพื่อสืบเสาะให้ความสงสัยนี้คงอยู่ในใจต่อไป 


"ผี" ในบางครั้งก็ถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการยกระดับความคิดของตัวเอง โดยคิดว่าใครที่เชื่อเรื่องผีนั้น เป็นที่งมงายขาดความรู้แต่หารู้ไม่คนที่ขาดความรู้นั้นคือคนที่เหยียดหยามคนอื่นนั้นเอง เหตุที่คนเฒ่าคนแก่บอกให้เชื่อเรื่องผี บางทีนั้นอาจเป็นกุศโลบายให้คนเรานั้นรู้จักกับเคารพต่อธรรมชาติ เช่นเรื่องผีนางไม้ ผีบ้านผีเรือน เป็นต้น อีกอย่างหนึ่งคือ ความกลัวเป็นการเตือนตัวเองอย่างหนึ่งในด้านของความไม่ประมาท ซึ่งอยู่ในสังคมของไทยโดยเฉพาะชาวพุทธจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน ในทางพุทธศาสนาก็ได้กล่าวถึง ผีและวิญญาณไว้ในพะรไตรปิฏกด้วย แต่ไม่ให้ความสำคัญซึ่งกล่าวไว้พอสังเขปว่า


"วิญญาณก็ คือ จิต เขาเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกับเรา    เพียงแต่ อยู่ในระดับมิติที่ต่างกัน  เขตเวลาเองก็ต่างกัน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า วิญญาณเหมือนพืช 5 อย่าง
(คือพืชที่งอกจาก เหง้า ลำต้น ยอด ข้อ และเมล็ด )ที่ยังเพาะขึ้น 
เมื่อมีดินและน้ำ(ปัจจัยในการงอก)
ก็สามารถเพาะขึ้นได้ เมื่อมีอาหารก็จะเจริญงอกงามต่อไป

พระพุทธเจ้าจึงให้เห็นวิญญาณพร้อมด้วยอาหารเหมือนพืช 5 อย่าง

คือเห็นที่ตั้งของวิญญาได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร 
เป็นเหมือน(ธาตุ)ดิน
และให้เห็นความยินดี(หรืออุปาทาน )และความกำหนัด
เหมือนดัง(ธาตุ)น้ำ 

ดังพุทธดำรัส

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นวิญญาณฐิติ๔ 
เหมือนปฐวีธาตุ
พึงเห็นความกำหนัดเพลิดเพลิน เหมือนอาโปธาตุ
พึงเห็นวิญญาณพร้อมด้วยอาหาร เหมือนพืช๕อย่าง"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ 
พึงตั้งอยู่
วิญญาณมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง  มีความยินดีเข้าไปส้องเสพ
พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ 
วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาฯ..."

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า  เราจักบัญญัติ
การมา การไป จุติ อุปบัติ หรือ
#ความเจริญงอกงามแห่ง  วิญญาณ  เว้นจากรูป เวทนา สัญญา  สังขาร #
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะเป็นได้"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ
เวทนาธาตุ สัญญาธาตุ สังขารธาตุ วิญญาณธาตุ
อันภิกษุละได้แล้วไซร้ 
#เพราะละความกำหนัดเสียได้  อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี   #
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป..."

เราเรียกว่า "ผี" เพราะเราเห็นว่าเค้าเป็นของแปลก    แต่เค้า ก็มีอยู่  

ในแต่ละหนึ่งจักรวาล  จะมีมิติที่"จิต"  สามารถปฏิสนธิได้ อยู่ 31 ระดับ  ได้แก่

อบายภูมิ 4 คือ สัตว์นรก  เปรต  อสุรกาย และสัตว์

กามาวจรภูมิ คือ  แหล่งรวมสิ่งมีชีวิตที่แสพกาม คือ เสพความสุขผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ มนุษย์ 1 และ เทวโลก 6


พรหมโลก   การเกิดขึ้นของสัตว์ในพรหมโลกทั้ง 20 ชั้น  เกิดขึ้น แตกต่างกันตามระดับพลังของการเพ่ง
จิตที่เพ่งได้จนสมาธิชั้นสูงขึ้นไป เมื่อก่อนสิ้นชีวิต  จะถูกแรงอาจนนาจสมาธิมาปฏิสนธิตามแต่ละชั้น ตามสมาธิที่คน ๆ นั้นเคยได้ 


ภาพวาดภาพสัตว์ในนรกภูมิ

การดำรงชีวิต

สัตว์ในสังสารวัฏทั้งจักรวาล  ตามที่ระบุไว้ในพระไตรปิฏกและอรรถกถา    มีการดำรงชีวิตด้วย 4 ลักษณะคือ

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๓
ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
จตุกกนิทเทส
[บุคคล ๔ จำพวก]



1. บุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น มิใช่ดำรงชีพ
อยู่ด้วยผลแห่งบุญ เป็นไฉน

- อาชีพของบุคคลใด ย่อมเจริญรุ่งเรืองเพราะความหมั่น ความขยัน
ความเพียรพยายาม มิได้บังเกิดแต่บุญ นี้เรียกว่า บุคคลผู้ดำรงชีพ อยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญ

2. บุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญ มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่ง
ความหมั่น เป็นไฉน

- เทวดาชั้นสูงๆ ขึ้นไป ตลอดถึงเทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวดี ชื่อว่า
ผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญ มิใช่ผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น

3. บุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่นด้วย ดำรงชีพอยู่ด้วยผล
แห่งบุญด้วย เป็นไฉน

- อาชีพของบุคคลใด ย่อมเจริญรุ่งเรืองเพราะความหมั่น ความขยัน
ความเพียรพยายามด้วย เพราะบุญด้วย นี้เรียกว่า บุคคลผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่นด้วย ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญด้วย

4. บุคคลผู้มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น ทั้งมิใช่ดำรงชีพ
อยู่ด้วยผลแห่งบุญด้วย เป็นไฉน

- สัตว์นรกทั้งหลาย ชื่อว่ามิใช่ผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น ทั้งมิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลแห่งบุญด้วย

เราอาจเรียกเทวดาว่า"ผี" 

แต่พระนางยโสธรา  ทรงเห็นเหล่าท้าวจาตุมหาราชิกาที่ทรงรับประสูตรพระโอรสเพียงดังว่า "ราชบุรุษรับใช้"  ไม่ทรงตื่นเต้น

สัตว์  ที่ปฏิสนธิในเทวโลก  ไม่ต้องทำมาค้าขาย  เพราะอยู่ด้วยอำนาจของบุญเท่านั้น  สัตว์ในมนุษย์โลก บางพวกมีบุญมาก  ไม่ต้องทำงาน  บางพวกทำบุญมาน้อย ไม่รักษาอุโบสถศีล  ไม่ให้ทานมาก่อน  ต้องเหนื่อยกับการงาน

แต่สัตว์ทั้งหมด ในจักรวาล  ต้องอาศัยอาหารเลี้ยงชีพ

ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ญาณกถา

"ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร"

อาหารของสัตว์ทั้งปวงมี 4 อย่าง

อาหาร 4 (สภาพที่นำมาซึ่งผลโดยความเป็นปัจจัยค้ำจุนรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย, เครื่องค้ำจุนชีวิต, สิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดกำลังเจริญเติบโตและวิวัฒน์ได้ - nutriment)

      1. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว ได้แก่ อาหารสามัญที่กลืนกินดูดซึมเข้าไป หล่อเลี้ยงร่างกาย - material food; physical nutriment) เมื่อกำหนดรู้กวฬิงการาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ราคะที่เกิดจากเบญจกามคุณได้ด้วย

     2. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ ได้แก่ การบรรจบแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา พร้อมทั้งเจตสิกทั้งหลายที่จะเกิดตามมา - nutriment consisting of contact; contact as nutriment) เมื่อกำหนดรู้ผัสสาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้เวทนา 3 ได้ด้วย

    3. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา ได้แก่ ความจงใจ เป็นปัจจัยแห่งการทำ พูด คิด ซึ่งเรียกว่ากรรม เป็นตัวชักนำมาซึ่งภพ คือ ให้เกิดปฏิสนธิในภพทั้งหลาย - nutriment consisting of mental volition; mental choice as nutriment) เมื่อกำหนดรู้มโนสัญเจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ตัณหา 3 ได้ด้วย.

      4. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ ได้แก่ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป - nutriment consisting ofconsciousness; consciousness as nutriment) เมื่อกำหนดรู้วิญญาณาหารได้แล้วก็เป็นอันกำหนดรู้นามรูปได้ด้วย.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้