ญาณ
ญาณ (Intuition)
คุณเคยเรียนรู้บางสิ่งโดยไม่ได้รู้เลยว่าคุณรู้มันได้อย่างไร? นั่นล่ะคือญาณ. บางครั้งก็เรียกมันว่าสัมผัสที่หก หรือ กัทฟีลลิ่ง (gut feelings – ยากจะหาคำแปล คล้ายกับเป็นการรู้โดยใช้ความรู้สึกล้วนๆ), ญาณคือความสามารถในการได้มาซึ่งตวามรู้โดยไม่มีที่มาที่ชัดเจน หรือไม่มีเหตุผลใดๆ. บางคนอ้างว่าเขารู้ตัวว่ามีบางคนจ้องมองเขาอยู่, และเมื่อเขาหันมองไปรอบๆ และก็พบว่ามีคนจ้องเขาอยู่จริงๆ. หรือว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจมองผู้ต้องสงสัยในคดีอาชญากรรม และ ด้วยวิถีบางอย่างเขารู้ว่าใครคืออาชญากร, และต่อมาก็พบว่าเขาคาดเดาได้ถูกต้อง. ถึงแม้ว่ามีบางคนกล่าวว่าสิ่งเหล่านี้คือความบังเอิญ, บางคนก็เชื่อว่าสมองคนมีความสามารถพิเศษที่จะรับความรู้รอบตัวเขาได้อย่างไม่รู้ตัว. นี่ก็เป็นสิ่งลี้ลับอีกประการหนึ่งของจิตมนุษย์
ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่องๆ กล่าวได้ว่า ญาณ คือ ความรู้บริสุทธิ์ที่ผุดโพลงสว่างแจ้งขึ้น มองเห็นตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ หรือเรื่องนั้นๆ บางครั้งญาณเกิดขึ้นโดยอาศัยความคิดเหตุผล แต่ญาณนั้นเป็นอิสระจากความคิดเหตุผล คือไม่ต้องขึ้นต่อความคิดเหตุผล แต่ออกไปสัมพันธ์กับตัวสภาวะที่เป็นอยู่จริง
มีการกล่าวถึงญาณในหลายลักษณะ หรืออาจจัดแบ่งญาณได้เป็น ญาณ3 (3หมวด) และ ญาณ16 (ในวิปัสสนาญาณ) ดังนี้
ญาณ3 ได้แก่ วิชชา3
คำว่า ญาณ ในความหมายเฉพาะ หมายถึง พระปรีชาหยั่งรู้ของพระพุทธเจ้า ความรู้แจ้งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรียกเต็มว่า โพธิญาณ หรือ สัมมาสัมโพธิญาณ มี 3 อย่าง หรือที่เรียกว่าวิชชา3 คือ
บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ที่เกิดในอดีตได้ คือ ระลึกชาติได้
จุตูปปาญาณ ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ
ทิพยจักษุญาณ บ้าง
อาสวักขยญาณ ความรู้ในการกำจัดอาสวกิเลสให้สิ้นไป
ญาณ3 ในส่วนอดีต-อนาคต-ปัจจุบัน
ญาณ3 อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่
อตีตังสญาณ หมายถึง ญาณในส่วนอดีต
อนาคตังสญาณ หมายถึง ญาณในส่วนอนาคต
ปัจจุปปันญาณ หมายถึง ญาณในส่วนปัจจุบัน
ญาณ3 ในการหยั่งรู้อริยสัจจ์
ญาณ3 อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่
สัจจญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้อริยสัจจ์แต่ละอย่าง
กิจจญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้กิจในอริยสัจจ์
กตญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจจ์
ญาณ16 และ วิปัสสนาญาณ 9
ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีการบรรยายขั้นต่างของการวิปัสสนา เป็น 16 ขั้น หรือเรียกว่า ญาณ16 (โสฬสญาณ) เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน คือ
นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป
นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณจับปัจจัยแห่งนามรูป
สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป วิปัสสนูปกิเลสเกิด
ขึ้นได้ในช่วงนี้(ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา(ระหว่างดับถึงเกิด)
ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัว
ต่อมรณะที่จะเกิด
อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
สัจจานุโลมิกญาณ หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์(พิจารณาวิปัสสนาญาณ
ทั้ง๘ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค
โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง๘ ตามลำดับ )
โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคล
แล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง
ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้น
อย่างสุดจิตสุดใจ
มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค
ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล
ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน
แต่เมื่อกล่าวถึงวิปัสสนาญาณโดยเฉพาะ อันหมายถึงญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา จะมีเพียง 9 ขั้น คือ ตั้งแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ถึง สัจจานุโลมิกญาณ (ตามปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ขั้นหนึ่งใน วิสุทธิ7) ที่บรรยายในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ นับรวม สัมมสนญาณ ด้วยเป็น10ขั้น)
วิปัสสนาญาณ คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ภังคานุปัสสนาญาณ นั้นเห็นอนิจจัง
วิปัสสนาญาณ คือ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ นิพพิทานุปัสสนาญาณ นั้นเห็นทุกขัง
วิปัสสนาญาณ คือ มุจจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ สังขารุเบกขาญาณ นั้นเห็นอนัตตา
ญาณ16 จัดเข้าในวิสุทธิ 7
นามรูปปริทเฉทญาณ จัดเข้าใน ทิฏฐิวิสุทธิ
นามรูปปัจจยปริคคหญษณ จัดเข้าในกังขาวิตรณวิสุทธิ
สัมมสนญาณและอุทธยัพพยญาณอย่างอ่อน จัดเข้าในมัคคามัคคญาณทัสสนะวิสุทธิ
วิปัสสนาญาณทั้ง๙ จัดเข้าในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ จัดเป็นญาณทัสสนวิสุทธิ
ความคิดเห็น