ชีวกโกมารภัจจ์...บรมครูแห่งการแพทย์ 2




คนไข้คนแรกของชีวกโกมารภัจจ์

หมอชีวกโกมารภัจจ์ ออกเดินทางจากเมืองตักสิลามุ่งสู่กรุงราชคฤห์พักผ่อนรอนแรมในระหว่างทางเสบียงที่อาจารย์มอบหมายก็ใกล้หมดจึงเที่ยวหารักษาใช้พอดีภริยาเศรษฐีในเมืองสาเกตเป็นโรคปวดศีรษะมาเป็นเวลาประมาณ๗ปีพยายามรักษาสิ้นทรัพย์จำนวนมากก็ไม่หายหมดอาลัยในชีวิตจึงปล่อยไปตามกรรมเมื่อหมอชีวกโกมารภัจทราบจึงเข้าไปอาสารักษาให้ทั้งคนไข้และเศรษฐีเห็นหมอยังหนุ่มอยู่ไม่เชื่อความสามารถจึงบอกปัดไม่ยอมให้รักษาเพราะเกรงว่าจะเสียค่ารักษาเปล่าๆไม่ได้ประโยชน์แต่หมอชีวกโกมารภัจจ์บอกจะรักษาให้ก่อนเมื่อหายแล้วจึงจะรับค่ารักษาดังนั้นเศรษฐีและภริยาจึงตอบตกลงยอมให้รักษาหมอชีวกโกมารภัจจ์จึงประกอบยาให้นัตถุ์เข้าทางจมูกฤทธิ์ยาทำให้คนไข้อาเจียนออกมาทางปากหลังจากนั้นโรคของนางก็หายเป็นปกติเขาได้รับค่ารักษาและรางวัลมาถึง๑๖๐๐๐กหาปณะแล้วเดินทางต่อไปจนถึงกรุงราชคฤห์เมื่อถึงแล้วหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้เข้าเฝ้าพระบิดาอภัยราชกุมารกราบทูลขออภัยโทษที่หนีไปโดยมิได้ทูลลาทูลเล่าเรื่องการศึกษาวิชาแพทย์ตั้งแต่ต้นจนจบตลอดจนการเดินทางกลับแล้วได้ถวายเงินรางวัลที่ได้รับระหว่างทางแก่พระบิดาพระอภัยราชกุมารทรงปลาบปลื้มพระทัยคืนทรัพย์สินที่ถวายให้กลับคืนเพื่อเป็นทุนใช้สอย


ประวัติการรักษาโรคครั้งสำคัญ

เมื่อหมอชีวกโกมารภัจจ์เดินทางถึง กรุงราชคฤห์แล้ว ได้รับรักษาโรคต่าง ๆจนมีชื่อเสียงปรากฏเลื่องลือทั่วทั้งกรุงราชคฤห์และแคว้นอื่น ๆการรักษาโรครั้งสำคัญของหมอชีวก ก็คือ

๑.รักษาโรคริดสีดวงทวารให้พระเจ้าพิมพิสารจนหายสนิททำให้พระองค์สบายพระวรกายขึ้น
ได้พระราชทานรางวัลเป็นอันมากทั้งทรัพย์สินเงินทองข้าทาสบริวารและที่ดินแต่หมอชีวกขอ
รับเพียงอย่างเดียวคือสวนมะม่วงจากนั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงแต่งตั้งให้เป็นแพทย์หลวงประ
จำพระองค์

๒. ผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ ซึ่งป่วยปวดศีรษะมานานเกือบ๑๐ ปี

๓. ผ่าตัดโรคฝีในลำไส้ให้ลูกชายเศรษฐีในเมืองพาราณสี

๔.รักษาอาการประชวรด้วยโรควัณโรคปอดให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตแห่งกรุงอุชเชนีแคว้นอวันตีในการรักษาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตนั้นหมอชีวกเกือบถูกประหารชีวิตเนื่องจากพระองค์ท่านมีพระอัธยาศัยโหดร้ายสั่งประหารคนง่ายๆโดยไม่มีเหตุผลและพระองค์เกลียดกลิ่นเนยใสเป็นที่สุดบังเอิญยาที่จะรักษานั้นก็มีส่วนผสมเนยใสอยู่ด้วยทำให้หมอชีวกหนักใจมากจึงวางแผนเตรียมก่อนที่จะถวายการรักษาได้กราบทูลขอพระราชทานช้างชื่อภัททวดีซึ่งมีฝีเท้าเร็วและประตูเมืองหนึ่งประตูโดยอ้างว่าเพื่อสะดวกในการออกไปเที่ยวหาตัวยาสมุนไพรซึ่งบางชนิดต้องเก็บในเวลากลางคืนบางชนิดต้องเก็บในเวลากลางวัน การรักษาจึงจะได้ผล


หลอกให้พระเจ้าจุณฑปัชโชต เสวยเนยใส

หมอชีวกได้ผสมยาโดยเคี่ยวใส่เนยใสบนเตาไฟจนสีรสและกลิ่นเปลี่ยนไปเสร็จแล้วนำเข้าไปถวายพระราชากราบทูลว่าเป็นโอสถสูตรใหม่มิได้ผสมเนยใสเมื่อพระราชาเสวยแล้วกราบทูลลากลับเพื่อขอไปจัดโอสถมาถวายอีก พอออกมาพ้นพระราชนิเวศน์แล้วรีบตรงไปยังโรงช้างแจ้งแก่พนักงานดูแลช้างว่าขอช้างพังชื่อ ภัททวดี เพื่อรีบไปเก็บตัวยาเมื่อขึ้นหลังช้างแล้วรีบออกจากกรุงอุชเชนีทันทีพระโอสถที่พระจ้าจัณฑปัชโชตเสวยแล้วก็ละลายกระจายรสและกลิ่นออกมาทำให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตได้กลิ่นเนยใสจึงกริ้วขึ้นมาทันทีรับสั่งให้ทหารรีบไปจับตัวหมอชีวกมาโดยเร็วเมื่อทรงทราบว่าหนีออกจากเมืองไปแล้วรับสั่งให้ทหารนำพาหนะที่มีฝีม้าเร็วติดตามจับตัวมาให้ได้และทหารผู้นั้นก็ได้ติดตามไปทับณหมู่
บ้านตำบลหนึ่งซึ่งเป็นไปตามที่หมอชีวกได้คาการณ์ไว้แล้วจึงเตรียมยาระบายอย่างแรงซ่อนไว้ในเล็บเมื่อนายทหารผู้นั้นจะเข้ามาจับกุมจึงถูกหมอชีวกหลอกให้กินยาระบายจนถ่ายท้องหมดเรี่ยวแรงปล่อยให้หมอชีวกหนีต่อไปได้ฝ่ายพระเจ้าจัณฑปัชโชตเมื่อพระโอสถออกฤทธิ์แล้วพระอาการประชวรก็หายเป็นปกติพระวรกายโปร่งเบาสบายรู้สึกขอบใจหมอชีวกแม้ทหารที่ติดตามไปจับตัวหมอชีวกแล้วถูกหลอกให้กินยาระบายจับตัวไม่ได้กลับมารายงานแล้วพระราชาก็มิได้กริ้วโกรธแต่ประการใดรับสั่งให้จัดส่งของมีค่าหลายประการรวมทั้งผ้าเนื้อดีจากแคว้นการสีอันเป็นที่นิยมกันว่าเป็นผ้าดีฝีมือการเย็บการทอยอดเยี่ยมกว่าผ้าเมืองอื่นๆให้ทูตนำไปมอบให้แก่หมอชีวกโกมารภัจจ์ที่กรุงราชคฤห์หมอชีวกรับของรางวัลมาแล้วพิจารณาเห็นว่าเป็นผ้าเนื้อดีไม่สมควรที่ตนจะใช้สอยเป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์จึงได้เก็บรักษาไว้เพื่อนำไปถวายพระบรมศาสดาต่อไป


แพทย์ประจำองค์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์

พระเจ้าพิมพิสารนอกจากจะแต่งตั้งให้ หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นแพทย์ประจำพระองค์แล้วยังมอบให้รับหน้าที่เป็นแพทย์ประจำองค์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์ทั้งหลายอีกด้วยหมอชีวกโกมารภัจจ์ได้เคยถวายการรักษาให้พระบรมศาสดาครั้งสำคัญ ๒ ครั้ง คือครั้งแรกได้ปรุงยาระบายชนิดพิเศษถวายเพื่อระบายสิ่งหมักหมมในพระวากายออกครั้งที่สองในคราวที่พระเทวทัตกลิ้งหินหมายปลงพระชนม์พระศาสดาแต่หินกลิ้งไปผิดทางมีเพียงสะเก็ดหินก้อนเล็ก ๆกระเด็นมากระทบพระบาทจนทำให้พระโลหินห้อขึ้นหมอชีวกได้ปรุงพระโอสถพอกที่แผลแล้วใช้ผ้าพันแผลไว้พอรุ่งขึ้นตอนเช้าแผลก็หายสนิทเป็นปกตินอกจากนี้หมอชีวกยังได้ให้การรักษาพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคต่างๆ โดยไม่คิดมูลค่า จนไม่ค่อยจะมีเวลารักษาให้คนทั่ว ๆไปเพราะท่านหมอมีความห่วงใยพระภิกษุสงฆ์มากกว่าจงเป็นเหตุให้คนบางพวกเมื่อเจ็บป่วยหรือเป็นโรคขึ้นมา ก็พากันมาบวชเพื่อสะดวกแก่การให้หมอรักษา พอหายดีแล้วก็ลาสิกขาไป


กราบทูลขอพรห้ามบวชคนที่มีโรคติดต่อ

สมัยหนึ่งในพระนครราชคฤห์เกิดโรคสกปรก โรคติดต่อและโรคร้ายแรง ระบาดไปทั่วกรุงละจังหวัดใกล้เคียง เช่น

กุฏฐัง         โรคเรื้อน
คัณโฑ      โรคฝีดาษ
กิลาโส      โรคกลาก
โสโส        โรคไข้มองคร่อ
อปมาโร    โรคลมบ้าหมู

ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นกันทั่วไปแก่ประชาชนพลเมืองทั้งภายนอกทั้งภายในราชสำนักตลอดจนพระสงฆ์ในอารามต่างๆ หมอทั้งหลายต้องทำงานกันอย่างหนัก ส่วนหมอชีวกโกมารภัจจ์ก็จะให้การรักษาแก่พระภิกษุสงฆ์และบุคคลภายราชสำนักก่อนเนื่องจาก หมอชีวกโกมารภัจจ์ รักษาแล้วได้ผลหายเร็วค่ารักษาถูกกว่าหมออื่นโดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์แล้วจะรักษาให้โดยไม่คิดค่ายาค่ารักษาแต่ประการใดด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีคนคิดอาศัยพระศาสนาเพื่อเข้ามารักษาตัวโดยเข้ามาบวชเป็นพระให้หมอรักษาจนหายจากโรคที่เป็นอยู่แล้วก็สึกออกไปและคนพวกนี้ก็เป็นตัวนำเชื้อโรคบางอย่างมาแพร่เชื่อติดต่อให้พระเช่น โรคเรื้อนและโรคกลากเกลื้อน เป็นต้น จนระยะหลังๆหมอชีวกสังเกตเห็นว่าคนหัวโล้นมีมากขึ้น ทั้ง ๆที่เป็นที่น่ารังเกียจของสังคมเมื่อสอบถามดูจึงได้ทราบความจริงว่าเพิ่งสึกมาจากพระและที่บวชก็มิได้บวชด้วยศรัทธาแต่บวชเพื่อรักษาตัวเมื่อโรคหายแล้วก็สึกออกมาด้วยเหตุนี้วันหนึ่งหมอชีวกเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลของพรว่าขออย่าได้บวชให้คนที่มีโรคติดต่อทั้ง๕ชนิดข้างต้นเลยพระพุทธองค์ประทานให้ตามที่กราบทูลขอและได้ประกาศให้ภิกษุสงฆ์ทราบโดยทั่วกัน ตั้งแต่นั้นมา คนที่เป็นโรคทั้ง ๕ชนิดนั้นก็ไม่สามารถบวชในพระพุทธศาสนาได้

กราบทูบขอพรให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้

หมอชีวกโกมารภัจจ์ หลังจากที่รักษาอาการประชวรของพระเจ้าจัณฑปัชโชตจนหายเป็นปกติดีแล้วได้รับพระราชทานรางวัลเป็นผ้าเนื้อดีจากแคว้นกาสี แต่ท่านหมอคิดว่าผ้าเนื้อดี อย่างนี้ ไม่สมควรที่ตนจะใช้สอยเป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์จึงได้น้อมนำผ้านั้นไปถวายแด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าก่อนที่จะถวายได้กราบทูลขอพรว่า ขอให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้พระพุทธองค์ประทานอนุญาตให้ตามที่ขอการที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ กราบทูลขอพรเช่นนั้นก็เพราะแต่ก่อนนั้นภิกษุใช้สอยแต่ผ้าบังสุกุล คือผ้าที่ชาวบ้านทั้งหลายทิ้งตามกองขยะบ้าง กองหยากเยื่อบ้างผ้าที่ห่อศพทิ้งในป่าบ้าง นำมาทำความสะอาดแล้วเย็บย้อมเป็นผ้าสบงจีวรสำหรับนุ่งห่ม จะไม่รับผ้าที่ชาวบ้านถวาย หมอชีวกโกมารภัจจ์ เห็นความลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในเรื่องนี้จึงกราบทูลขอพรและได้เป็นผู้ถวายเป็นคนแรก ผ้าที่ภิกษุรับอย่างนี้เรียกว่าคฤหบดีจีวรแม้พระพุทธองค์จะทรงอนุญาตตามที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ กราบทูลขอแต่ก็ยังมีพุทธดำรัสตรัสว่า ถ้าภิกษุปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลก็ให้ถือปรารถนาจะรับคฤหบดีรจีวรก็ให้รับและได้ตรัสสรรเสริญความสันโดษคือความยินดีตามมีตามได้พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุโมทนาบุญแก่หมอชีวกผู้ถวายผ้านั้นเมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว หมอชีวกโกมารภัจจ์ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมดำรงอยู่ในอริยภูมิคือพระโสดาบัน

หมอชีวกโกมารภัจจ์ สร้างวัด

หมอชีวกโกมารภัจจฺเมื่อยามว่างเว้นจากการรักษาคนไข้ก็หวนคิดถึงตนเองมีความปรารถนาจะเข้าเฝ้าใกล้ชิดพระบรมศาสดาอย่างน้อยวันละ ๒ เวลาเช้า-เย็น เพื่ออบรมจิตใจได้มากขึ้นแต่วัดเวฬุวันก็ตั้งอยู่ห่างไกลจากบ้าน อีกทั้งไม่สะดวกในการฟังธรรมและการรักษาพยาบาลภิกษุไข้จึงได้น้อมนำถวายสวนมะม่วงที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้แก่ตนนั้นสร้างวัดถวายในพระพุทธศาสนาสร้างพระคันธกุฏีที่ประทับส่วนพระพุทธองค์พร้อมด้วยกุฏสงฆ์ ศาลาฟังธรรมบ่อน้ำและกำแพงขอบเขตวัดพร้อมบริบูรณ์ทุกสิ่งแล้วกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์พุทธสาวกเสด็จเข้าประทับยังพระ
อารามใหม่นั้นถวายอาหารบิณฑบาตเป็นการฉลองพระอารามแล้วหลังน้ำทักษิโณทกให้ตกลงบนฝ่าพระหัตถ์ของพระบรมศาสดากล่าวอุทิศถวายมอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารให้เป็นศาสนสถานอยู่จำพรรษาของภิกษุสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔พระอารามใหม่นี้ได้นามตามผู้ถวายว่า ชีวกัมพวัน(ชีวก+อัมพวัน)


พาพระเจ้าอชาตศัตรูเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

อชาตศัตรูราชกุมาร มีพระอัธยาศัยคิดทรยศไม่ซื่อตรง ขาดความจงรักภักดีต่อ พระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นพระราชบิดาอยู่แล้ว ต่อมาได้คบหาสมาคมกับ พระเทวทัต มีศรัทธาเลื่อมใสได้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงด้วยปัจจัย ๔ถูกพระเทวทัตยุยงให้ปลงพระชนม์พระบิดาอีกทั้งให้การสนับสนุนพระเทวทัตกระทำอนัตริยกรรมลอบปลงพระชนม์พระบรมศาสดาและทำสังฆเภททำลายสงฆ์ให้แตกแยกกันต่อมาพระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบเพราะกระทำกรรมหนักพระเจ้าอชาตศัตรูได้ทราบข่าวก็สะดุ้งพระทัยกลัวภัยจะถึงตัวถึงกับเสวยไม่ได้บรรทมไม่หลับติดต่อกันหลายวัน กลัดกลุ้มพระทัยเป็นที่สุดคืนเพ็ญวันหนึ่งพระองค์ไม่สามารถจะนิทราหลับลงได้จึงเรียกอำมาตย์ทั้งหลายเข้าเฝ้ายามดึกทรงปรึกษาว่าคืนเดือนเพ็ญอย่างนี้จะไปหาสมณพราหมณ์ผู้มีศีลคนดีจึงจะสามารถทำจิตใจให้สงบได้พวกอำมาตย์ล้วนแต่แนะนำเดียรถีย์อาจารย์ของตน ได้แก่ครูทั้ง ๖ซึ่งพระเจ้าอชาตศรัตรูก็เคยไปฟังคำสอนมาแล้วล้วนแต่ไร้สาระทั้งสิ้นหมอชีวกโกมารภัจอยู่ในที่นั้นด้วย จึงกราบทูลแนะนำให้ไปเฝ้าพระสมณโคดมบรมศาสดาซึ่งขณะนี้พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ชีวกัมพวันใกล้ ๆบ้านของตนนี่เองพระเจ้าอชาตศรัตรูทรงเห็นด้วย จึงเสด็จไปพร้อมด้วยกองจตุรงคเสนาเมื่อเสด็จไปถึงได้เข้าไปกราบถวายบังคมพระบรมศาสดาพระพุทธองค์ตรัสทักทายปฏิสันถารขึ้นก่อนแล้วตรัสถามถึงราชกิจต่าง ๆทำให้พระเจ้าอชาตศรัตรูไม่เก้อเขิน และทรงดีพระทัยเป็นอย่างยิ่งที่พระพุทธองค์ไม่ทรงถือโทษในการกระทำของพระองค์ที่ผ่านมาพระพุทธองค์ทรงทราบว่าพระเจ้าอชาตศัตรูมีพระทัยผ่องใสดีแล้ว จึงแสดงพระธรรมเทศนาสมัญผลสูตร ให้ทรงสดับ เมื่อจบลงทรงมีพระทัยผ่องใสโสมนัสยิ่งขึ้นเกิดศรัทธาเลื่อมใสถวายตัวเป็นอุบาสกขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งตลอดชีวิต (ถ้าพระองค์ไม่ทำปิตุฆาตคือฆ่าพระบิดาเสียก่อนก็จะได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นแน่) จากนั้นได้กราบขอขมาโทษต่อพระพุทธองค์เสด็จกลับพระราชนิเวศน์ หมอชีวกโกมารภัจจ์ ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์และประชาชนทั่วไปเป็นอเนกประการท่านเป็นอุบาสกผู้เป็นพระอริยชั้นพระโสดาบัน พระบรมศาสดาได้ยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายเลื่อมใสในบุคคล



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้