ชีวกโกมารภัจจ์...บรมครูแห่งการแพทย์ 1






พระคาถา อัญเชิญ ดวงจิต วิญญาณ
ปรมาจารย์ทางการแพทย์ " ชีวกโกมารภัจจ์"


โอม นะโม ชีวะโก สิระสา อะหัง กรุณิโก สัพพะสัทธานัง
โอสะถะ ทิพพะมันตัง ประภาโส สุริยาจันทัง โกมารภัจจ์โต
ประภาเสสิ วันทามิ ปัณฑิโต สุเมทะโส อะโรคา สุมนาโหมิ
( ว่า ๓ ครั้ง )


นะอะ นะวะ โรคา พยาธิ วินาสสันติ
( ว่า ๓ ครั้ง )


ข้าขอประนมหัตถ์ พระไตรรัตน์นาถาตรีโลกอมรา อภิวาทนากรหนึ่งข้าอัญชลี พระฤษีผู้ทรงญาณแปดองค์เธอมีญาณโดยรอบรู้ในโรคาไหว้คุณอิศวเรศ ทั้งพรหมเมศทั่วชั้นฟ้าสาบสรรซึ่งว่านยา ประทานทั่วโลกธาตรีไหว้คุณกุมารภัจจ์ ผู้เจนจัดในคัมภีร์เวชศาสตร์บรรดามี ให้ทานทั่วแก่นรชนไหว้ครูผู้สั่งสอน แต่ปางก่อนเจริญผลล่วงลุนิพานดล สำเร็จกิจประสิทธิพรฯ

คำไหว้ครูว่านยา :

ชีวกโกมารภัจจ์ความหมายของคำว่า ชีวก

ชีวก คือชื่อหมอใหญ่ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและมีชื่อเสียงมากในครั้งพุทธกาลเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าด้วย, เรียกชื่อเต็มว่า "ชีวกโกมารภัจจ์" 

หมอชีวกเกิดที่เมืองราชคฤห์แคว้นมคธเป็นบุตรของ นางคณิกา (หญิงงามเมือง) ชื่อว่าสาลวดีแต่ไม่รู้จักมารดาบิดาของตนเพราะเมื่อนางสาลวดีมีครรภ์เกรงค่าตัวจะตกจึงเก็บตัวอยู่ครั้นคลอดแล้วก็ให้คนรับใช้เอาทารกไปทิ้งที่กองขยะ แต่พอดีเมื่อถึงเวลาเช้าตรู่ เจ้าชายอภัยโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสารจะไปเข้าเฝ้าเสด็จผ่านไปเห็นการุมล้อมทารกอยู่เมื่อทรงทราบว่าเป็นทารกและยังมีชีวิตอยู่จึงได้โปรดให้นำไปให้นางนมเลี้ยงไว้ในวังในขณะที่ทรงทราบว่าเป็นทารกเจ้าชายอภัยได้ตรัสถามว่าเด็กยังมีชีวิตอยู่(หรือยังเป็นอยู่)หรือไม่และทรงได้รับคำตอบว่ายังมีชีวิตอยู่ (ชีวติ=ยังเป็นอยู่หรือยังมีชีวิตอยู่) ทารกนั้นจึงได้ชื่อว่าชีวก (ผู้ยังเป็น)และเพราะเหตุที่เป็นผู้อันเจ้าชายเลี้ยงจึงได้มีสร้อยนามว่า โกมารภัจจ์ (ผู้อันพระราชกุมารเลี้ยง) 

ครั้นชีวกเจริญวัยขึ้นพอจะทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้าก็คิดแสวงหาศิลปวิทยาไว้เลี้ยงตัวจึงได้เดินทางไป ศึกษาวิชาแพทย์กับอาจารย์แพทย์ทิศาปาโมกข์ที่เมืองตักสิลาศึกษาอยู่๗ปีอยากทราบว่าเมื่อใดจะเรียนจบอาจารย์ให้ถือเสียมไปตรวจดูทั่วบริเวณ๑ โยชน์รอบเมืองตักสิลา เพื่อหาสิ่งที่ไม่ใช่ตัวยา ชีวกหาไม่พบกลับมาบอกอาจารย์ ๆ ว่าสำเร็จการศึกษามีวิชาพอเลี้ยงชีพแล้วและมอบเสบียงเดินทางให้เล็กน้อย

ชีวกเดินทางกลับยังพระนครราชคฤห์เมื่อเสบียงหมดในระหว่างทางได้แวะหาเสบียงที่เมืองสาเกต โดยไปอาสารักษาภรรยาเศรษฐีเมืองนั้นซึ่งเป็นโรคปวด ศีรษะมา ๗ ปีไม่มีใครรักษาหายภรรยาเศรษฐีหายโรคแล้ว ให้รางวัลมากมาย หมอชีวกได้เงินมา๑๖,๐๐๐ กษาปณ์พร้อมด้วยทาสทาสีและรถม้าเดินทางกลับถึงพระนครราชคฤห์นำเงินและของรางวัลทั้งหมดไปถวายเจ้าชายอภัยเป็นค่าปฏิการะคุณที่ได้ทรงเลี้ยงตนมาเจ้าชายอภัยโปรดให้หมอชีวกเก็บรางวัลนั้นไว้เป็นของตนเองไม่ทรงรับเอาและโปรดให้หมอชีวกสร้างบ้านอยู่ในวังของพระองค์ 

ต่อมาไม่นานเจ้าชายอภัยนำหมอชีวกไปรักษาโรคริดสีดวงงอกแด่พระเจ้าพิมพิสารจอมชนแห่งมคธทรงหายประชวรแล้วจะพระราชทานเครื่องประดับของสตรีชาววัง ๕๐๐นางให้เป็นรางวัลหมอชีวกไม่รับขอให้ทรงถือว่าเป็นหน้าที่ของตนเท่านั้นพระเจ้าพิมพิสารจึงโปรดให้หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำพระองค์ประจำฝ่ายในทั้งหมดและประจำพระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข 

หมอชีวกได้รักษาโรคร้ายสำคัญหลายครั้ง เช่น ผ่าตัดรักษาโรคในสมองของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ผ่าตัดเนื้องอกในลำไส้ของบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีรักษาโรคผอมเหลืองแด่พระเจ้าจัณฑปัชโชตแห่งกรุงอุชเชนีและถวายการรักษาแด่พระพุทธเจ้าในคราวที่พระบาทห้อพระโลหิตเนื่องจากเศษหินจากก้อนศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาจากภูเขาเพื่อหมายปลงพระชนม์ชีพ

หมอชีวกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันและด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ๒-๓ครั้งเห็นว่าพระเวฬุวันไกลเกินไปจึงสร้างวัดถวายในอัมพวันคือ สวนมะม่วงของตนเรียกกันว่า ชีวกัมพวัน (อัมพวันของหมอชีวก) เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเริ่มน้อมพระทัยมาทางศาสนาหมอชีวกก็เป็นผู้แนะนำให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยเหตุที่หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำคณะสงฆ์และเป็นผู้มีศรัทธาเอาใจใส่เกื้อกูลพระสงฆ์มาก จึงเป็นเหตุให้มีคนมาบวชเพื่ออาศัยวัดเป็นที่รักษาตัวจำนวนมากจนหมอชีวกต้องทูลเสนอพระพุทธเจ้าให้ทรงบัญญัติข้อห้ามมิให้รับบวชคนเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิดนอกจากนั้นหมอชีวก ได้กราบทูลเสนอให้ทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟเพื่อเป็นที่บริหารกายช่วยรักษาสุขภาพของภิกษุทั้งหลาย หมอชีวกได้รับพระดำรัสยกย่องเป็น "เอตทัคคะ" ในบรรดา อุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้