ตำนาน วัดพระทอง
วัดพระผุด, วัดนาใน หรือวัดพระทอง |
สถานที่ตั้ง
วัดพระทอง ตั้งอยู่ที่บ้านนาใน ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ประวัติความเป็นมา
....................ความเป็นมาของวัดพระทองเล่ากันมาว่า บริเวณวัดเป็นทุ่งกว้างสำหรับเลี้ยงสัตว์ ครั้งหนึ่งเกิดพายุฝนทำให้น้ำท่วม เมื่อน้ำแห้งก็มีพระพุทธรูปผุดแค่เศียรขึ้นมาในบริเวณนั้น ชาวบ้านพบเห็นว่าเป็นพระทองคำ จึงพากัน สักการะแล้วแจ้งให้เจ้าเมืองทราบ เจ้าเมืองสั่งให้ขุดพระแต่ไม่สำเร็จ จึงทำโรงมุงหลังคาไว้ให้คนได้กราบไหว้ ต่อมาชีปะขาวรูปหนึ่งมาพักที่เมืองถลาง ทราบว่าพระพุทธรูปทรงคำผุดอยู่กลางทุ่งนา กลัวว่าจะ ถูกขโมยจึงชวนชาวบ้านโบกปูนขาวทับไว้
เมื่อครั้งศึกพม่าตีเมืองถลาง[1] รู้ว่ามีพระพุทธรูปทองคำจึงรื้อปูนขาวออก ขุดพระผุดแต่ขุดไม่ได้ พอดีทัพเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชยกทัพมาช่วยเมืองถลาง พม่าจึงลงเรือหนีกลับไปทิ้งพระผุดไว้ ประจวบกับในปีนั้นมีพระธุดงด์รูปหนึ่ง มาจากสุโขทัย ได้เห็นพระผุด จึงชักชวนชาวบ้านสร้างวัด โดยมีพระผุดเป็นพระประธานในอุโบสถ แล้วทำการผูกพัทธสีมา ชาวบ้านพากันเรียกวัดนี้หลายชื่อ บ้าง เรียกว่า วัดนาใน วัดพระผุด หรือวัด พระหลอคอ
เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระธุดงด์[2] รูปนั้นได้ผูกปริศนาลายแทงไว้ดังนี้
" ยัก ๓ ยัก ๔ หาบผี มาเผา ผีไม่ทันเน่าหอมฟุ้งตลบ ผู้ใดคิดลบ ให้เอาที่กบปากแดง"
ปริศนานี้เจ้าอาวาสต้องแก้ให้ได้ ถ้าแก้ไม่ได้ จะอยู่วัดได้ไม่นาน แต่ไม่มีใครแก้ได้ในที่สุดวัดก็ร้าง จนเลื่องลือกันว่า "วัดพระผุดกินสมภาร" จนสิ่งก่อสร้างผุผังรกร้างเหลือแต่พระผุดที่พอกปูนไว้ เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระครูจิตถารสมณวัตร์ (หลวงพ่อฝรั่ง) แห่งวัดพระนางสร้าง แก้ปริศนาได้ จึงบูรณะวัดพระผุด โดยได้เป็นเจ้าอาวาส จำพรรษาอยู่ถึง ๖๑ พรรษา จนมรณภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองภูเก็ต จึงได้เสด็จทอดพระราชทานพระผุด ได้พระนิพพานนามวัดพระผุดว่า วัดพระทอง
“วัดพระทอง” ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “วัดพระผุด” หรือ “วัดพระหล่อ” สร้างในกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำครึ่งองค์ที่โผล่เพียงพระเกตุมาลาขึ้นมาจากพื้นดินประมาณ 1 ศอก |
ความสำคัญต่อชุมชน
......................วัดพระทองเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองภูเก็ตเป็นที่ประดิษฐาน[3] ของพระผุดซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเมือง ทั้งชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีน เพราะเชื่อกันว่าพระผุดมาจากเมืองจีน เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน[4] ก็จะทำกันมาไหว้พระผุดเสมอทุกปี แม้ในสมัยวัดพระทองรกร้าง ก็จะพากันมาถากถางเพื่อไหว้พระผุดในเทศกาล
ตรุษจีน นอกจากนี้วัดพระทองยังใช้เป็นสถานที่ปลุกเสกน้ำมุรธาภิเษก[5] ของทุกรัชกาล
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
๑. อุโบสถหลังเก่า ซ่อมแซมใหม่แล้ว ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปดังนี้
๑.๑ พระพุทธรูปทองคำครึ่งองค์ ซึ่งเรียกกันว่า พระผุด เป็นพระประธานของอุโบสถ
๑.๒ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ จำนวน ๙ องค์ ประดิษฐานอยู่เรียงรายภายในอุโบสถ เช่น ปางถวายเนตร ปางรำพึง ปางห้ามญาติ ปางอุ้มบาตร ปางไสยาสน์
๑.๓ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ มีขนาดต่าง ๆ กัน ความสูงไม่เกิน ๑ ศอก สีดำ วางอยู่บนเคร่าเพดาน เรียงรายรอบทั้งสี่ด้านของอุโบสถ
๒. อุโบสถหลังใหม่ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ รูปทรงต่าง ๆ สวยงามมาก
๓. ศาลาพุทธสุวรรณนิมิต สร้างแบบรัตนโกสินทร์มี ๒ ชั้น ใช้ประโยชน์ทั้งเป็นหอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล และพิพิธภัณฑ์สถานของวัดพระทอง มีเหรียญและเงินสมัยต่าง ๆ เก็บรวบรวมไว้ และมีถ้วยชามเครื่องลายครามที่ชาวในเมืองภูเก็ตโดยเฉพาะใน
เขตเมืองถลาง นำมามอบไว้ให้วัด
๔. ศาลาจตุรมุข เป็นที่ประดิษฐานรูปภาพถ่ายของเจ้าอาวาสองค์ก่อนมีทั้งภาพรูปภาพถ่าย และรูปปั้น ของพระครูจิตถารสมณวัตร์ (หลวงพ่อฝรั่ง) ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนโดยทั่วไป
๕. หอกลองและหอระฆัง ตั้งอยู่มุมด้านซ้ายและขวาของอุโบสถหลังเก่า สร้างรูปศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
เส้นทางเข้าสู่วัดพระทอง
...................จากตัวเมืองภูเก็ตไปตามถนนเทพกระษัตรีประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ผ่านที่ว่าการอำเภอถลางไปจะมี ทางแยกขวามือเข้าวัดพระทองไปประมาณ ๒๐๐ เมตร
อีกเส้นทางหนึ่งข้ามสะพานเทพกระษัตรีไปถนนสาย ๔๐๒ ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอถลางจะเห็นทางแยก ซ้ายมือเข้าวัดพระทอง ไปประมาณ ๒๐๐ เมตร
_______________________________________
[1] เมืองถลาง สมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร เกาะภูเก็ตถูกเรียกว่า "เมืองตะกั่วถลาง" เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักกษัตร โดยใช้ตราประจำเมืองเป็นรูปสุนัข จนถึง สมัยสุโขทัย เมืองถลางขึ้นอยู่กับ เมืองตะกั่วป่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่ ที่เก็บสินค้า เพื่อรับซื้อแร่ดีบุกที่เมืองภูเก็ต ดังนั้นเกาะภูเก็ตทางตอนเหนือ และตอนกลางเป็น เมืองถลาง
[2] พระธุดงค์ พระธุดงคกรรมฐาน หรือ พระป่า
หมายถึงพระภิกษุ ฝ่ายที่มุ่งศึกษาธรรม โดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ตามป่าเขา ที่สงบ สงัด สะดวกต่อการปฏิบัติ จึงเรียกว่า "พระฝ่ายอรัญวาสี พระธุดงคกรรมฐาน" หรือพระป่า
[3] ประดิษฐาน : [ปฺระดิดสะถาน] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นําพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตําแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี. (ส. ปฺรติษฺ?าน; ป. ปติฏฺ?าน).
[4] เทศกาลตรุษจีน ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (ตัวเต็ม: 春節, ตัวย่อ: 春节, พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) หรือ ขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ (ตัวเต็ม: 農曆新年, ตัวย่อ: 农历新年, พินอิน: Nónglì Xīnnián หนงลี่ ซินเหนียน) และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ (正月 พินอิน: zhèng yuè เจิ้งเยฺว่) และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลโคมไฟ (ตัวเต็ม: 元宵節, ตัวย่อ: 元宵节, พินอิน: yuán xiāo jié หยวนเซียวเจี๋ย)
คืนก่อนวันตรุษจีน ตามภาษาจีนกลางเรียกว่า 除夕 (พินอิน: Chúxī ฉูซี่) หมายถึงการผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน
ในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และนับเป็นช่วงวันหยุดช่วงสำคัญช่วงหนึ่งของชาวจีน เทศกาลนี้ยังแผ่อิทธิพลไปยังชนชาติรายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต ทิเบตไม่ได้ถือว่าเป็นประเทศ มันเป็นมณทลหนึ่งของประเทศจีน เนปาล และภูฐาน ให้จัดงานขึ้นปีใหม่ทำนองเดียวกัน สำหรับวิธีเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น
[5] น้ำมุรธาภิเษก มูรธาภิเษก คือ มูรธาภิเษก [N] ความหมาย คือ Royal ceremonial bath of purification,น้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่นๆ,,มุรธาภิเษก, มุทธาภิเษก,
ความคิดเห็น