เรือนสามน้ำสี่

 เรือนสามน้ำสี่คือ คติโบราณที่ใช้สอนแม่บ้านแม่เรือน





 ในสมัยก่อนผู้หญิงที่แต่งงานแล้วมักจะอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ทำหน้าที่คอยดูแลคนในบ้านโดยไม่ให้ตกบกพร่องในทุกๆด้านเลยค่ะ ในที่นี้มีการกล่าวอ้างถึงบทบาทหน้าที่ของแม่ศรีเรื่อนมาพอสังเขปเอาไว้ประดับความรู้กัน

      คติโบราณที่ใช้สอนแม่บ้านแม่เรือนมีอยู่บทหนึ่งว่า “เรือนสามน้ำสี่” เรือนสามก็ได้แก่ 

๑.เรือนที่อยู่ 
๒. เรือนชะตา 
๓. เรือนผม

ส่วนน้ำสี่นั้นได้แก่ 

๑. น้ำใช้ 
๒. น้ำอบ 
๓. น้ำปูน 
๔. น้ำใจ 

กวีโบราณได้แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพเอาไว้ว่า 

                                              เรือนเหย้าตนอยู่นั้น อย่าหมอง 

                                                เรือนชะตาแผ่นทอง วาดไว้ 

                                         เรือนผมอย่างยุ่งหยอง หวีหย่ง ไว้นา 

                                          สามประการนี้ไซร้ หมั่นสู้สงวนนาม 

                                                    น้ำใช้ใส่ตุ่มตั้ง เต็มดี 

                                                 น้ำอบอ่าอินทรีย์ อย่าร้อง 

                                                  น้ำปูนใส่เต้ามี อย่าขาด 

                                              น้ำจิตอย่าให้ข้อง ขัดน้ำใจใคร 

คำอธิบาย

เรือนแรก  หมายถึง เรือนที่อยู่อาศัย ต้องคอยดูแลรักษาความสะอาดให้เรียบร้อย อย่าให้รกรุงรังได้ 

เรือนที่สอง  คือ เรือนชะตา เป็นคติทางโหราศาสตร์ ที่นิยมผูกดวงชะตาของพ่อบ้านแม่บ้านไว้บูชา ซึ่งมักจะจารึกดวงชะตาไว้ในแผ่นทองบางตำราก็บรรจุไว้ที่ฐานของพระพุทธรูปที่สร้างด้วยไม้กิ่งโพธิ์ว่า 
เป็นตำราที่นับถือกันมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ผู้ที่บูชาพระพุทธรูปที่บรรจุดวงชะตาเช่นว่านี้จะเจริญรุ่งเรืองปราศจากอันตราย ผู้ที่ได้แต่งโคลงนี้จึงได้นำมากล่าวไว้ด้วย

ส่วนเรือนที่สาม  คือ เรือนผมนั้น คนโบราณถือกันมากคนที่ปล่อยผมเผ้ารุงรังสกปรกมักจะถือกันว่ามีแต่คนบ้าและขอทาน ฉะนั้นการทำเรือนผมให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ จึงถือว่าเป็นสิริมงคลอย่างหนึ่ง 

      เรื่องของน้ำสี่ก็สำคัญแสดงถึงความเอาใจใส่และน้ำใจของแม่บ้าน

น้ำอย่างแรก  คือน้ำใช้น้ำกิน ดังกล่าวแล้ว ต้องตักเติมให้เต็มอยู่เสมอ 

น้ำที่สอง     คือน้ำอบก็คือน้ำที่อบหรือปรุงด้วยเครื่องหอม ซึ่งในสมัยโบราณนิยมใช้กันมากยิ่งในวังด้วยแล้ว ต้องมีเจ้าหน้าที่ปรุงน้ำอบโดยเฉพาะทีเดียวในปัจจุบันความนิยมดูจะเสื่อมไป ใช้เฉพาะสรงน้ำพระ และรดน้ำผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์กันเท่านั้น ผิดกับในสมัยก่อนที่ใช้กันเป็นของประจำวัน

น้ำอย่างที่สาม  คือ น้ำในเต้าปูน ในสมัยโบราณนิยมกินหมาก ทุกบ้านต้องมีเชี่ยนหมากไว้รับแขก ฉะนั้นต้องคอยดูแลไม่ให้ปูนขาดเต้าและให้มีน้ำหล่อเลี้ยงปูนอยู่ไม่ให้แห้ง น้ำอย่างที่สี่เป็นน้ำอย่างพิเศษ 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้