วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด)
วัดเจ็ดยอด หรือ วัดโพธารามมหาวิหาร |
วัดเจ็ดยอดหรือวัดโพธาราม
เป็นวัดที่ได้ชื่อว่ามีเจดีย์รูปทรงแปลกที่สุดคือมียอดตั้งแต่บนเรือนธาตุสี่เหลี่ยมถึงเจ็ดยอด เหมือนมหาโพธิ์เจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดีย จัดเป็นปูชนียสถาน[1] ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ประวัติ
สร้างราวปี พ.ศ. ๑๙๙๙ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ลำดับที่ ๑๑ จองอาณาจักรล้านนาไทย โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต เป็นนายช่างทำการก่อสร้างอารามขึ้น แล้วฌปรดให้ปลูกต้นมหาโพธิ์ในวัด จึงปรากฎชื่อว่า " วัดโพธาราม"
เจ้าอาวาสรูปแรกคือ พระโพธิรังษีมหาเถระ รจนาคัมภีร์จามเทวีวงศ์
มหาเจดีย์พุทธคยา หนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ |
เจดีย์เจ็ดยอด
เป็นโบราณสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย เชื่อว่าถ่ายแบบมาจากมหาโพธิ์เจดีย์พุทธคยา[2] ประเทศอินเดียสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราชโปรดให้จัดการประชุมพระเถรานุเถระทั่วทุกหัวเมืองในอาณาจักรล้านนาแล้วทรงคัดเลือกได้พระธรรมทิณ เจ้าอาวาสวัดป่าตาล ผู้ทรงอบรมรู้ภาษาบาลีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระองค์ทรงเป็นพระธานฝ่ายคฤหัสถ์ ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก[3] ครั้งใหญ่เป็นลำดับที่ ๘โดยทำมาแล้วทั้งในอินเดียและศรีลังกา นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
__________________________________
[1] ปูชนียสถาน หรือ หีบสักการะ (อังกฤษ: Shrine) “Shrine” มาจากภาษาละติน “Scrinium” ที่แปลว่า “หีบสำหรับหนังสือหรือเอกสาร” และภาษาฝรั่งเศสโบราณ “escrin” ที่แปลว่า “กล่องหรือหีบ” ปูชนียสถานคือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อุทิศให้แก่บุคคลสำคัญทางศาสนา, บรรพบุรุษ, วีรบุรุษ, ผู้พลีชีพ, นักบุญ, Daemon หรือบุคคลที่มีความสำคัญหรือเป็นที่นับถือผู้เป็นที่สักการะ ปูชนียสถานมักจะประกอบด้วยรูปเคารพ, มงคลวัตถุ หรือสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เป็นที่สักการะ ปูชนียสถานที่สร้างขึ้นเพื่อรับสิ่งสักการะเรียกว่า “แท่นบูชา” ปูชนียสถานเป็นสิ่งที่พบในศาสนาแทบทุกศาสนาในโลกที่รวมทั้งพุทธศาสนา, ศาสนาอิสลาม, คริสต์ศาสนา, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพื้นบ้านของจีน และ ศาสนาชินโต และการใช้ในทางที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาเช่นรำลึกสถานเกี่ยวกับสงคราม ปูชนียสถานมีลักษณะต่างกันไปหลายอย่าง ปูชนียสถานบางแห่งก็ตั้งอยู่ภายในคริสต์ศาสนสถาน, วัด, สุสาน หรือแม้แต่ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หรือบางครั้งก็จะเป็นแบบที่เคลื่อนย้ายได้ เช่นในลักษณะของ “หีบวัตถุมงคล”
ปูชนียสถานบางครั้งก็อาจจะกลายมาเป็นศูนย์กลางของรูปเคารพของลัทธินิยม
[2] พุทธคยา (บาลี: พุทฺธคยา, อังกฤษ: Bodh Gaya, Mahabodhi Temple) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญใน อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่ง ของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู
พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ รวมทั้งวัดไทยคือ วัดไทยพุทธคยา
สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก
[3] การสังคายนาพระธรรมวินัยในศาสนาพุทธเถรวาท คือการประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวด หมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน ศัพท์คำว่าสังคายนาหมายถึง สวดพร้อมกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สังคีติ” แปลว่า สวดพร้อมกัน มาจากคำว่า คายนา หรือ คีติ แปลว่า การสวด สํ แปลว่า พร้อมกัน คำนี้มีมูลเหตุมาจากวิธีการสังคายนาพระธรรมวินัย ที่เรียกว่าวิธีการร้อยกรองหรือรวบรวมพระธรรมวินัย หรือประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีวิธีการคือนำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงจำไว้มาแสดงในที่ประชุมสงฆ์ จากนั้นให้มีการซักถามกัน จนกระทั่งที่ประชุมลงมติว่าเป็นอย่างนั้นแน่นอน เมื่อได้มติร่วมกันแล้วในเรื่องใด ก็ให้สวดขึ้นพร้อมกัน การสวดพร้อมกันแสดงถึงการลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ และเป็นการทรงจำกันไว้เป็นแบบแผนต่อไป
ความคิดเห็น