ตำนาน กำเนิดแม่น้ำชี



 แม่น้ำชี ต้นกำเนิดคือแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์



กำเนิดแม่น้ำชี

.ชื่อแม่น้ำชีเกิดจากแม่หม้ายคนหนึ่งอยู่กับลูกสาว สามีของนางเสียชีวิตนานแล้ว วันหนึ่งนางไปหาหน่อไม้บนภูเขา ซึ่งมีหน่อไม้มาก วันนั้นนางหาหน่อไม้ได้มากกว่าทุกวัน นางจึงได้นำหน่อไม้ที่หาได้ไปขายใน ตลาดกับลูกสาวของนาง ปรากฎว่าหน่อไม้ของนางขายดีได้เงินมาเป็นจำนวนไม่น้อย 

เมื่อได้เงินจากการขายหน่อไม้นางได้พาลูกสาวของนางไปซื้อเสื้อผ้า ซื้อของที่ลูกของนางอยากได้ นางและลูกสาวซื้อของเสร็จกำลัง จะออกจากร้าน เจ้าของร้านก็ได้บอกนางว่า  " ผู้หญิงคนนี้สวยจริง ๆ เลย"  ต่อมามีคนพูดว่า   " ลูกสาวของ ป้าสวยอย่างนี้ ทำไมไม่ให้เข้าไปอยู่ในวังจะได้สบาย" 

.......................... ต่อมานางจึงพยายามส่งลูกสาวเข้าไปอยู่ในวัง เมื่อลูกสาวของนางได้ไปอยู่ในวังก็เป็นที่หมายปองของชายทั้งหลาย และได้พบรักกับลูกขุนนาง และตกลงใจแต่งงาน กันโดยไม่บอกมารดา ด้วยความเป็นห่วง นางรู้แล้วว่าลูกสาวของนางแต่งงานแต่ไม่บอกนาง นางก็ไม่โกรธ และได้เข้ามาหาลูกสาวในวัง เมื่อลูกสาวพบหน้ามารดาก็ทำท่าเหมือนไม่รู้จักซ้ำยังไล่เหมือนกับว่าไม่ใช่แม่ สร้างความเสียใจให้แก่ผู้เป็นแม่มาก 

จุดสิ้นสุดของเส้นทางสายแม่น้ำมูล 640 กิโลเมตร ที่ไหลมาจากเทือกเขาสันกำแพง นครราชสีมา และปราจีนบุรี ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ มาบรรจบกับแม่น้ำชีที่ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี ไหลลงแม่น้ำโขงดอนด่านปากแม่น้ำมูล บ้านเวินบึก เกิดเป็นปรากฎการณ์ แม่น้ำสองสี


นางกลับบ้านด้วยความเสียใจ เมื่อกลับถึงบ้านนางยังคงร้องไห้อยู่ทุกวัน เสียใจกับลูกที่นางรักปานแก้วตาดวงใจที่ทำกับนางเช่นนี้ แม้ชีวิตก็ยอมสละให้ลูกได้ นางคิดว่าในชีวิตของ นางไม่เหลืออะไรอีกแล้วเพราะคนที่นางรักยังไม่สนใจใยดี นางจึงไปวัดไปหาความสงบในชีวิตที่เหลือน้อยเต็มที ในที่สุดก็ตัดสินใจบวชชี[1]  และได้เดินทางไปบนภูเขา ซึ่งนางเคยหาหน่อไม้กับลูกสาวของนาง และได้นั่งร้องไห้บนภูเขาจนน้ำตา ของนางกลายเป็นสายน้ำที่ไหลอยู่ทุกวันนี้และได้จบชีวิตลง ณ ที่แห่งนั้น ชาวบ้าน ได้เรียกชื่อแม่น้ำสายนี้ว่า "แม่น้ำชี"


คติ / แนวคิด
.............................ความรักอื่นใดจะเหมือนความรักของแม่ย่อมไม่มี ผู้เป็นลูกต้องมีความกตัญญูกตเวทีต่อ ผู้ให้กำเนิด และผู้มีพระคุณ

_________________________________

[1] ชี นางชี หรือ แม่ชี เป็นพุทธศาสนิกชนเพศหญิง นุ่งขาวห่มขาว โกนศีรษะ อาศัยในวัดเช่นเดียวกับพระภิกษุ ในทางพุทธศาสนา มิได้ถือว่านางชีเป็นนักบวช แต่เป็นหนึ่งในพุทธบริษัทสี่ คือเป็นอุบาสิกาเท่านั้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการก่อตั้งสำนักนางชีโดยเฉพาะ เพื่อจะได้ไม่ปะปนกับพระภิกษุซึ่งเป็นเพศชาย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้