ตำนาน เมืองฟ้าแดดสงยาง

พระธาตุยาคู หรือพระธาตุใหญ่ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง



เมืองฟ้าแดดสงยาง

เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในอดีตมาก่อน มีความอุดมสมบูรณ์ ผู้ปกครองเมืองคือ พญาฟ้าแดด มีพระมเหสีชื่อ พระนางจันทาเทวี  (เขียวค่อม) มีพระธิดาชื่อ พระนางฟ้าหยาด เป็นผู้ที่มีสิริโฉม งดงามมาก เป็นที่หวงแหนของพระราชบิดามารดา

 พญาฟ้าแดด ได้ให้ช่างสร้างปราสาท[1] เสาเดียวไว้กลางน้ำ โดยใช้ศิลาแลง[2] ในการก่อสร้าง บริเวณนี้ปัจจุบันเรียกว่า "โนนฟ้าแดด" นอกจากนั้นมีการขุดสระไว้รอบเมือง มี คูค่ายและเชิงเนิน มีหอคอยที่แข็งแรง สระที่ขุดไว้ปัจจุบันเป็นหนองน้ำสาธารณะ 

พระนางฟ้าหยาด ในปราสาทกลาง

เมืองลูกหลวงของเมืองฟ้าแดด คือ เมืองสงยาง มอบให้อนุชาชื่อ พญาอิสูรย์ (เจ้าฟ้าระงึม) เป็นผู้ครองเมือง เมืองทั้งสองห่างกัน ๒ กิโลเมตร เลยรวมกันเรียกว่า "เมืองฟ้าแดดสงยาง" 


เมืองเซียงโสม เป็นเมืองหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับ เมืองฟ้าแดด มี พญาจันทราช  เป็นผู้ปกครองและจะมีเทศกาลเล่นหมากรุก และตีคลี[3] เป็นประเพณี ใครแพ้ ชนะ ก็จะส่งส่วย[4]กินเมืองตามประเพณี ครั้งหนึ่งพญาจันทราชได้ออกล่าสัตว์ และต่อไก่ มุ่งหน้าลงมาทางใต้ จนถึงหนองเลิง ได้หลงทางเข้าไปในอุทยานของนางฟ้าหยาด  เมื่อพบนางฟ้าหยาดก็เกิดความรักใคร่ชอบพอกัน ครั้นเดินทางกลับเมืองเซียงโสม ได้มอบให้ขุนเล็ง ขุนดาน นำเครื่องบรรณาการมาสู่ขอนางฟ้าหยาด แต่ไม่สำเร็จ

 พญาจันทราช จึงยกไพร่พล เคลื่อนขบวนทัพมาตีเมืองฟ้าแดดสงยาง โดยขอความช่วยเหลือไปยังเมือง เซียงสง เซียงสา เซียงเครือ ท่างาม น้ำดอกไม้ สาบุตรกุดดอก  ให้ส่งกองทัพมาช่วย 

ฝ่ายพญาฟ้าแดดเมื่อทราบข่าว ก็ขอความช่วยเหลือจาก เมืองสงยาง ผู้เป็นอนุชามาช่วยรบ เมื่อเกิดสงครามคนล้มตายเป็นจำนวนมาก พญาจันทราชสิ้นพระชนม์บนคอช้าง แม่ทัพนายกองที่ติดตามก็ยอมแพ้ เมื่อนางฟ้าหยาดทราบข่าวก็มี ความเศร้าโศกจนสิ้นชีวิตบนปราสาทกลางน้ำ 

ต่อมาพญาฟ้าแดดได้นำศพของพระนางฟ้าหยาด และศพพญาจันทราชบรรจุลงในหีบทองคำ ตกแต่ง อย่างสมพระเกียรติ ให้สร้างเจดีย์คู่เป็นอนุสรณ์ไว้ 

 เสมาทวารวดีที่เมืองฟ้าแดดสงยาง

ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตก ของโนนเมืองฟ้าแดดสงยาง ก่อนที่จะบรรจุอัฐิของนางฟ้าหยาดกับพญาจันทราช ได้รับสั่งให้ช่างหล่อพระพุทธรูป และเทวรูปทองคำจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ ประกาศให้ชาวเมืองฟ้าแดดสงยางหล่อพระพุทธรูปทุกหลังคาบ้าน โดยให้หล่อด้วยทองคำ อิฐ หิน หรือดินเผาแล้วแต่ศรัทธา แล้วบรรจุไว้ที่เจดีย์คู่ เพื่อเป็นการบูชา และล้างบาปที่ได้กระทำไว้ จากนั้นได้มอบให้พญาธรรม ไปครองเมืองเซียงโสม ส่งบรรณาการแก่เมืองฟ้าแดดประจำทุกปี

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2552 อาจารย์ปารณ​ ชาตกุล ได้ลงพื้นที่ดูกรณีศึกษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง และแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีหนองราชวัตร จังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกับ ผศ.ดร.ชัยชนะ แสงสว่าง และผศ.ดร.ดุษฎี ทายตะคุ ในโครงการวางแผนพัฒนาเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์


คติ / แนวคิดคิด

.....................ตำนานเมืองฟ้าแดดสงยางเป็นตำนาน ที่แสดงให้เห็นถึงเมืองฟ้าแดดสงยางเป็นเมืองที่เคย เจริญรุ่งเรือง มีชื่อมาตั้งแต่โบราณกาล

_______________________________________

[1] ปราสาท (อังกฤษ: Castle) คือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์หลักของสมัยกลาง ความหมายของคำว่าปราสาทยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการถึงความหมายที่แท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้วปราสาทมีความหมายต่างจากคำว่า “ป้อม” (fort) และ “ป้อมปราการ” (fortress) ตรงที่ปราสาทเป็นที่ประทับหรือที่พำนักของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางในบริเวณที่เป็นจุดที่ต้องมีการป้องกันจากข้าศึก
สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่มาของปราสาทคือป้อมโรมัน (Roman fort) และ ป้อมเนิน (Hill fort) ที่สร้างกันทั่วยุโรปที่มาจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยจักรวรรดิคาโรลินเจียน แต่การวิวัฒนาการของปืนใหญ่และดินปืนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นการเปลี่ยนลักษณะการสงครามในยุโรปและทำให้สมรรถภาพของปราสาทในการใช้เป็นสิ่งป้องกันการโจมตีจากข้าศึกลดลง และทำให้การสร้างป้อมเป็นที่นิยมกันมากขึ้น
สิ่งก่อสร้างในรัสเซียที่เรียกว่า “เคร็มลิน” (Kremlin) หรือในญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ชิโร” (Shiro) ก็ถือว่าเป็นปราสาท

[2] ศิลาแลง หรือแลง (Laterite) เป็นวัสดุธรรมชาติที่เกิดขึ้นบริเวณมรสุมเขตร้อน ซึ่งคนในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้จักและนำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานแล้ว มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์รู้จักนำศิลาแลงมาบดผสมกับยางไม้ใช้เป็นสีในการวาดภาพตามถ้ำและหน้าผาหิน นอกจากนั้นคนในภูมิภาคนี้ได้นำศิลาแลงมาใช้ในการก่อสร้างวัดและปราสาทหินดังที่พบเห็นในประเทศไทย กัมพูชา และลาว มีอายุย้อนหลังไปตั้งแต่ 700 – 1,000 ปีที่ผ่านมา แต่ศิลาแลงเพิ่งเป็นที่รู้จักในวงการวิทยาศาสตร์ตะวันตกเมื่อประมาณสองร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง โดยบุชานัน (Buchanan, F. 1807) ได้สังเกตเห็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นศิลาแลงบริเวณภูเขาของประเทศอินเดียและคาบสมุทรมลายู แล้วนำไปเผยแพร่ในหมู่นักวิชาการตะวันตก

[3] ตีคลี เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวอีสานนิยมเล่นกันมากตามชนบทสมัยโบราณ มีหลักฐานปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในกฎมณเฑียรบาล มาตราที่ ๑๔ ได้กล่าวถึงสนามคลีว่า "แต่หัวสนามถึงฉานคลีไอยการขุนดาบซ้าย แต่ฉานคลีถึงโรงช้างหล้อไอยการขุดดาบขวา " (กรมศิลปากร ๒๕๒๑ :๓๗) และในมาตราที่ ๓๓ ได้กล่าวถึงข้อบังคับในการเล่นคลีไว้ว่า
"ถ้าทรงม้าคลี แลเรียกขุนหมื่นหัวพัน แลนายม้าจูงเข้าด้วยธินั่งไซ้แลชงโคนนั้นให้ล้วงท้องตัดชายหาง อย่าเอาหน้าม้า ขุนม้านั้นให้แก่หัวเทียมท้ายม้าพระธินั่ง ผู้ใดมิได้ทำตามไอยการแลละเมิดไซ้ โทษศักถ้าดาบ โทษลงหญ้า โทษฆ่าเสีย" (กรมศิลปากร ๒๕๒๑ : ๔๑)

การเล่นตีคลี ส่วนใหญ่มักจะเล่นในฤดูหนาว เนื่องจากเป็นฤดูแล้งและจะเล่นกันในทุ่งนา เป็นการออกกำลังกายก่อนจะลงอาบน้ำ โดยทั่วไปมักจะเล่นในเวลากลางคืน โดยเอาลูกเผาไฟให้ลุกแดง เ มื่อตีลูกคลีก็จะกลายเป็นลูกไฟปลิวไปในสนามมองเห็นได้ชัดเจนและสวยงาม

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
๑. ไม้สำหรับตีคลี ทำจากตอไม้ไผ่ขนาดความยาว ๑ เมตร ส่วนปลายของไม้งอนขึ้นเล็กน้อย (คล้ายไม้ฮอกกี้)
๒. ลูกคลี ทำจากไม้ทองหลางหรือขนุนเพราะมีน้ำหนักเบาสามารถตีให้ไปไกล ๆ ได้โดยกลึงให้กลม ๆ ขนาดลูกมะนาวหรือส้มโอ
๓. สนามตีคลี ขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ด้านหลังปักเสาประตูไว้ตรงกลางขนาด ๑ เมตร
๔. ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละ ๔-๕ คน

วิธีการเล่น
ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะนำเอาลูกคลีมากลางสนาม โดยมีหัวหน้าทีมหรือ "ผู้แทนคลี" เป็นผู้ริเริ่มเล่นเหมือนฟุตบอลฝ่ายใดสามารถตีลูกลงหลุมคลีหรือเข้าประตูฝ่ายตรงข้ามได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ

[4] ส่วย อาจหมายถึงเงินสินบนส่วย (กลุ่มชาติพันธุ์) 
คำเรียก ภาษี ในสมัยโบราณ (ส่วย ฤชา อากร จังกอบ)


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้