ตำนาน จำปาสี่ต้น



ดอกจำปา




จำปาสี่ต้น

มีเมืองใหญ่อยู่เมืองหนึ่งถูก พญาเหยี่ยวรุ้ง ซึ่งอยู่ในหุบเขาไม่ไกลนักบินมาโฉบประชาชนกินเป็นประจำ ประชาชนพลเมือง จะต่อสู้ด้วยอาวุธต่าง ๆ อย่างไรก็สู้พญาเหยี่ยวรุ้งไม่ได้ เจ้าเมืองจึงเอาพระธิดาซ่อนไว้ใน กลองใบใหญ่ พลเมืองนอกจากนั้นก็รอต่อสู้กับพญาเหยี่ยวรุ้ง 

Argentavis นกแร้งยักษ์ ราชาแห่งท้องนภาในอดีต


ผลสุดท้ายถูกพญาเหยี่ยวรุ้งโฉบไปกินหมด พระเจ้าจุลมณี ซึ่งเป็นกษัตริย์อีกเมืองหนึ่ง เสด็จมาพบโดยบังเอิญจึงได้อัญเชิญพระธิดาไปอภิเษก[1] เป็น พระมเหสี ให้นามว่า พระนางคำกลอง เพราะพบอยู่ในกลอง เมื่อนางคำกลองประสูติพระโอรส ๔ พระองค์ พร้อมกัน 

แล้วนางก็ถูกกลั่นแกล้งจากพระมเหสีองค์เก่าชื่อว่า นางอัคคี จนต้องพลัดพรากไปอยู่กับตายายที่ ท้ายเมือง เมื่อนางอัคคีทราบเรื่องก็ให้นางสนม[2] นำขนมใส่ยาพิษไปเบื่อ ๔ กุมารจนเสียชีวิตหมด เมื่อนำไปฝัง ดินก็เกิดเป็นต้นจำปา ๔ ต้น มีดอกหอมไปทั่วเมือง นางอัคคีก็ให้คนไปใช้อุบายถอนต้นจำปาทั้งสี่ต้นลอยน้ำไป

 พระฤาษี[3] ซึ่งบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่กลางป่ามองเห็นด้วยญาณวิเศษว่า ต้นจำปาทั้งสี่ต้นนั้นเป็นคนจึงได้ ช่วยชุบชีวิตขึ้นมาใหม่ แล้วสอนวิชาอาคมให้จนแก่กล้าแล้ว พระฤาษีจึงให้ ๔ กุมารไปช่วยเหลือแม่คือ นางคำกลอง จากนั้นได้ไปช่วยตายาย และนำกระดูกของพลเมืองที่ถูกพญาเหยี่ยวรุ้งกินทำพิธีชุบชีวิตขึ้นมาใหม่ อีกครั้งหนึ่ง แล้วตามไปฆ่าพญาเหยี่ยวรุ้งตาย

อาวุธของพระนารายณ์ ในเรื่องของ สี่เทพกุมาร ซึ่งอ้างอิงจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง "จำปาสี่ต้น"

ปัจจุบัน ชาวขอนแก่นเชื่อว่า พญาเหยี่ยวรุ้ง ที่มากินมนุษย์นั้นคือ ไดโนเสาร์ชนิดมีปีก ที่พบโครงกระดูก อยู่ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น


เทอราโนดอน เป็นไดโนเสาร์อีกชนิดหนึ่งที่มีหงอนแข็งที่หัว ขนาดของปีกกว้างมาก วัด ตามยาวได้ถึง 6 เมตร อาศัยอยู่ตามหน้าผาสูง มีน้ำหนักตัวประมาณ 17 กิโลกรัม เป็นสัตว์ เลื้อยคลานที่บินได้ โครงสร้างโดยทั่วไปมีลักษณะค่อนข้างไปทางไดโนเสาร์มากกว่านก ซึ่ง ถ้านำไปเทียบกับ อาร์คีออฟเทอริกซ์ และ โมโนไนคัส พวกนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับนกใน ปัจจุบันมากกว่า


คติ/แนวคิด

...........................การกระทำของนางอัคคีพระมเหสีองค์เก่าของพระเจ้าจุลมณีนั้นเป็นการกระทำชั่ว ผลสุดท้ายก็ต้องได้
รับกรรม พญาเหยี่ยวรุ้งและบริวารที่บินมาโฉบมนุษย์กินนั้น ก็ถูกฆ่าตายหมด

___________________________________

[1] อภิเษก (สก. อภิเษก; มค. อภิเสก) ก. รดน้ำ, แต่งตั้งโดย การทำพิธีรดน้ำ เช่น พิธีขึ้นเสวยราชย์ของพระเจ้าแผ่นดิน; ได้บรรลุ, ได้เป็น, เช่น พุทธาภิเษก คือ การได้เป็นพระพุทธเจ้า; แต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง เช่น อภิเษกมเหสี คือ ทำพิธีตั้งพระมเหสี; แต่งตั้งโดยการทำพิธีรดน้ำมี ๙ อย่าง คือ ๑. ปราบดาภิเษก เป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยรบชนะ ๒. ราชาภิเษก เป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยสืบสันตติวงศ์ ๓. โภคาภิเษก เป็นพระเจ้าแผ่นดินโดย มีทรัพย์มาก ๔. อินทราภิเษก เป็นพระเจ้าแผ่นดิน โดยเสี่ยงทาย เช่น ราชรถไปเกย ๕. รัชมังคลา-ภิเษก งานเฉลิมพระเกียติพระเจ้าแผ่นดิน เนื่องในงานเสวยราชสมบัติครบรอบ ๔๐ ปี เช่น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครั้งกรุงศรีอยุธยา ๖. ทวิธาภิเษก งานเฉลิมปีรัชกาลที่พระเจ้าแผ่นดินเสวยราชสมบัติได้ ๒ เท่าของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนที่ครองราชย์สมบัติมาแล้ว ๗. รัชดาภิเษก ทำเมื่อเสวยราชย์ได้ ๒๕ ปี ๘. สุวรรณาภิเษก ทำเมื่อเสวยราชย์ได้ ๕๐ ปี ๙. วชิราภิเษก ทำเมื่อเสวยราชย์ได้ ๗๕ ปี เช่น พระนางวิคตอเรียของประเทศอังกฤษ.

[2] นางสนม N. concubine of the king
    def:[เรียกบาทบริจาริกาที่รับใช้ใกล้ชิดองค์พระมหากษัตริย์]
    syn:{นางสนมกำนัล}
    sample:[นางนพมาศซึ่งเป็นนางสนมของพระร่วงได้เป็นผู้คิดอ่านทำกระทงถวายเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆ]

N. concubine of the king
    def:[เรียกบาทบริจาริกาที่รับใช้ใกล้ชิดองค์พระมหากษัตริย์]
    syn:{นางสนมกำนัล}
    sample:[นางนพมาศซึ่งเป็นนางสนมของพระร่วงได้เป็นผู้คิดอ่านทำกระทงถวายเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆ]

N. concubine of the king
    def:[เรียกบาทบริจาริกาที่รับใช้ใกล้ชิดองค์พระมหากษัตริย์]
    syn:{นางสนมกำนัล}
    sample:[นางนพมาศซึ่งเป็นนางสนมของพระร่วงได้เป็นผู้คิดอ่านทำกระทงถวายเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆ]

[3] ฤาษี นักบวชที่เรียกว่า "ฤาษี" จะเป็นพวกบำเพ็ญพรต ตบะอย่างยิ่งยวด ซึ่งผลที่ได้ตอบแทนประการหนึ่งคือ การมีอิทธิฤทธิ์ที่นอกเหนือชนสามัญ ฤาษีจึงเป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์
โดยจัดแบ่งฤาษีตามตบะออกเป็น ๓ ชั้นคือ
พรหมฤาษี - ผู้ที่ตบะเลิศ ข่มจิตนิวรณ์ได้บรรลุญาณชั้นสูง
มหาฤาษี - ผู้มีตบะข่มกามคุณ
ราชฤาษี - สำเร็จญาณสมาบัติชั้นต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้